ในยุค Digital Age แบบนี้คงจะไม่พูดถึงเรื่องนี้ไม่ได้ ที่ปัจจุบันหลายท่านได้ใช้งาน Social Media เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram, YouTube ทั้งเป็นบัญชีส่วนตัวหรือบัญชีสำหรับองค์กรแบรนด์สินค้าต่างๆ ซึ่งเราคงเคยใช้ภาพต่างๆมาใส่ใน Social Network ไม่ว่าจะเป็นรูปโปรไฟล์, ปก cover page แต่การใส่ภาพในแต่ละครั้งโดยไม่ปรับขนาดภาพ มันดูไม่สวย ไม่พอดี เพราะฉะนั้นวันนี้ SGEPRINT ขอมานำเสนอ ขนาดรูปภาพ ที่ใช้ออกแบบ Infographic เกี่ยวกับการเลือกใส่รูปภาพลงบน Social Network ให้ดูเหมาะสมและเข้ากันกับหน้า Social Network ของเรามากขึ้น
สารบัญ
ขนาดรูปภาพ 4 ช่องทาง Social Media มีอะไรบ้าง?

FACEBOOK
ปัจจุบันมีธุรกิจจำนวนมากหันมาขายของออนไลน์โดยใช้ช่องทาง Facebook แต่การจะขายของออนไลน์ให้ยอดปังๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่แค่สินค้าที่น่าสนใจเท่านั้นนะ แต่การจะโพสต์ภาพสินค้าลงบนเฟซบุ๊ค ก็เป็นส่วนสำคัญที่พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ทั้งหลายมองข้ามไม่ได้ เพราะการจัดวางรูปภาพให้ดูสวยงาม สะดุดตา และมีขนาดภาพที่พอดี ก็จะช่วยทำให้ภาพสินค้าที่เผยแพร่ออกไปดูชัดเจน และน่าช็อปมากยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ รูปภาพเปรียบเสมือนหน้าตาของเพจ ถ้ามีภาพที่น่าสนใจ ผสมกับสัดส่วนภาพที่ถูกต้อง เชื่อว่าจะทำให้สินค้าและบริการของคุณดีขึ้นได้แน่นอน นอกจากนั้น ในการทำรูปสำหรับลงโฆษณาบน Facebook ต้องคำนึงถึงกฎของ Facebook Text 20% เพื่อให้โฆษณา Facebook ของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ไปดูกันเลยว่ามี ขนาดรูปภาพ อะไรบ้างที่เราต้องรู้
|
|

อินสตาแกรมถือเป็นอีกหนึ่งในสื่อ Social Media สุดฮิตที่นักการตลาดทุกคนรู้จักดี ด้วยยอดผู้ใช้งานเกือบพันล้าน Account มาพร้อมสถิติการโพสต์ภาพและวิดีโอมากกว่า 100 ล้านโพสต์ต่อวัน ทำให้แบรนด์สินค้าที่ทำตลาดบน Instagram ต่างต้องงัดไม้เด็ดเพื่อเพิ่ม Engagement นั่นก็คือการทำ Visual Content เพราะฉะนั้นไปดูกันดลยค่ะว่ามีขนาดเท่าไหร่กันบ้าง
IG Photo (ภาพนิ่ง) แบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกันคือ – Square อัตราส่วน 1:1 (1080 x 1080 px) – Portrait อัตราส่วน 4:5 (1080 x 1350 px) – Landscape อัตราส่วน 1.91:1 (1080 x 608 px) |
IG Video (วิดีโอ) มี 3 แบบดังนี้ – Square อัตราส่วน 1:1 (1080 x 1080 px) – Portrait อัตราส่วน 4:5 (1080 x 1350 px) – Landscape อัตราส่วน 1.91:1 (1080 x 608 px), 16:9 (1920 x 1080 px) |
IG Stories แบ่งเป็นแนวตั้งและแนวนอน – Portrait อัตราส่วน 9:16 (1080 x 1920 px) – Landscape อัตราส่วน 1.91:1 (1080 x 608 px) |
IGTV ลงได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน – แนวตั้งใช้อัตราส่วนคือ 4:5 (1080 x 1350 px) – แนวนอน ใช้อัตราส่วน 16:9 (1920 x 1080 px) |

YOUTUBE
ยุคนี้หากใครไม่รู้จัก ยูทูป คงจะเชยมากๆนะคะ เพราะ YouTube เป็น Social Media ด้านวิดีโอ มีลักษณะของการเป็น YouTube Gallery รวบรวมผลงาน เน้นการเข้าถึงคอนเทนต์ของเจ้าของ Channel มากกว่าที่จะเป็นการสื่อสารเชิง Community เหมือนอย่าง Social Media อื่นๆ เช่น Facebook Instagram หลายๆ ครั้ง คนทำคลิปวิดีโอลงยูทูป จะประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่าต่างๆ โดยอาจเป็น ขนาด YouTube มากหรือน้อยเกินไป อัตราส่วนไม่ถูกต้อง สกุลไฟล์ YouTube ไม่รองรับ หรืออื่นๆ อันเป็นเหตุให้คลิปของคุณไม่สามารถเผยแพร่ได้ ดังนั้นเราได้ลิสต์ข้อมูล ขนาดรูปภาพ และขนาดวิดีโอ YouTube ที่คุณควรทราบและต้องรู้ไว้ที่นี่แล้ว
|
|

TWITTER
สำหรับ Social Media ที่มาแรงคงจะหนีไม่พ้นทวิตเตอร์ เนื่องจากหลายแบรนด์ เริ่มขยับขยายเพิ่มช่องทางการโฆษณาสินค้าและบริการทางทวิตเตอร์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ ดังนั้นมีความจำเป็นอย่างมากที่การโพสต์ขนาดรูปใน Twitter จึงมีความสำคัญค่อนข้างมาก เพื่อให้เกิดความพอดีกับหน้าจอ และไม่โดนครอปส่วนที่สำคัญออกไป สำหรับรูปโปรไฟล์ใน Twitter นั้น จะมีลักษณะเป็นวงกลม ดังนั้นเมื่ออัปโหลดรูปโปรไฟล์เข้าไป ให้ทดลองเช็กด้วยว่า โดนครอปด้านข้างมุมทั้ง 4 ออกไปแค่ไหน แนะนำว่าให้พื้นหลังเป็นสีพื้นเพื่อที่จะได้ดูง่าย โดยขนาดและสัดส่วนที่แนะนำคือ
- รูปโปรไฟล์ Twitter ควรมีสัดส่วน 1:1 ขนาดอยู่ที่ 400 x 400 px น้ำหนักไฟล์ไม่เกิน 2MB
นอกจากนี้ภาพปกนับว่าเป็นอีกจุดดึงดูดสายตาเมื่อเข้ามาเยี่ยมชมโปรไฟล์ เราสามารถใช้ภาพปกเป็นภาพที่เน้นโปรโมชัน หรือภาพที่เน้นการจัดอีเวนท์ หรือภาพอื่น ๆ ที่สามารถบางบอกถึงตัวตนและแบรนด์ของเราได้
- รูปปก มีสัดส่วน 3:1 ขนาดอยู่ที่ 1500 x 500 px น้ำหนักไฟล์ไม่เกิน 5MB
ขนาดรูปภาพ สำคัญอย่างไร?
อัตราส่วนภาพคือความสัมพันธ์ตามสัดส่วนของความกว้างต่อความยาว คุณจะเห็นว่ามันเป็นตัวเลขสองตัวคั่นด้วยเครื่องหมายโคลอนในรูปแบบ x: y ตัวอย่างเช่นภาพขนาด 6 x 4 นิ้วมีอัตราส่วนภาพ 3:2 อัตราส่วนภาพจะไม่มีหน่วยต่อท้าย – แต่จะแสดงถึงขนาดของความกว้างเทียบกับความสูงแทน ซึ่งหมายความว่าภาพที่วัดเป็นเซนติเมตรจะมีอัตราส่วนภาพเหมือนกันแม้ว่าจะถูกวัดเป็นนิ้ว ความสัมพันธ์ระหว่างความกว้างและความยาวนั้นกำหนดอัตราส่วนและรูปร่าง แต่ไม่ใช่ขนาดที่แท้จริงของรูปภาพ อย่างไรก็ตามอัตราส่วนภาพจะเปลี่ยนไปตามสื่อที่นำเสนอ อัตราส่วนภาพของภาพที่แสดงบนคอมพิวเตอร์จะแตกต่างจากภาพที่แสดงบนโทรศัพท์
อัตราส่วนภาพเป็นส่วนสำคัญของเนื้อหาในเว็บไซต์ เนื่องจากต้องมีการอัปโหลดรูปภาพในอัตราส่วนที่ต่างกันสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น เดสก์ท็อปเทียบกับมือถือ หรือบล็อกเทียบกับโซเชียลมีเดีย เมื่อคุณใช้อัตราส่วนภาพได้ถูกต้อง มันจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าภาพของคุณจะแสดงตามที่คุณต้องการโดยไม่ถูกยืดหรือสูญเสียความละเอียด
ขอบคุณบทความดีๆจาก Motive Influence / YouTube Creator / Digital Break Time / Page365