หลายๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนใหญ่ปัญหาเหล่านั้นล้วนมาจาก “คน” บางองค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจกับ การบริหารงานบุคคล มากขึ้น เพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมกับงาน หาคนที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับองค์กร เพื่อให้บุคคลากรมีความสามารถเหมาะสมกับงานที่ทำ งานที่ได้ก็จะออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหารงานบุคคล คือ การจัดการบุคคล โดยจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้คนดี คนเก่ง มีความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน เกิดประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล กับงาน หรือ องค์กร ตลอดจนส่งเสริม หรือสนับสนุนให้ บุคลากรทำงานอย่างมีประสิทธิ และประสบความสำเร็จในการทำงาน
🔵 การบริหารงานบุคคล กับ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ แตกต่างกันตรงที่ การบริหารงานบุคคล จะเน้นบริหารคน เน้นบริหารหน้าที่และบทบาทของบุคลากร ส่วน การบริหารทรัพยากรมนุษย์จะเน้นภาพกว้างกว่าการบริหารคน เน้นการใช้กลยุทธ์ เพื่อให้สำเร็จและสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ศึกษาทิศทางขององค์การ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรบุคคลให้เข้ากับงาน และเสริมสร้างความสามารถเป็นประสบการณ์การทำงานให้แก่พนักงาน หลังจากนั้นคอยติดตามผลว่าเกิดประโยชน์กับองค์กรมากน้อยแค่ไหน
การบริหารงานบุคคล 4 หลัก
โดยใน การบริการงานบุคคล นั้นได้กำหนดขอบข่ายและหน้าที่ไว้ 4 ข้อ ด้วยกันมีดังนี้
- การจัดหาบุคลากร คือ การหาบุคคลที่มีคุณสมบัติ และจำนวน ให้เพียงพอต่อบริษัทหรือองค์กร ที่จะสามารถทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายของบริษัทได้ โดยจะเริ่มจากการวางแผนกำลังคน การสรรหา การคดเลือกเข้าสู่หน่วยงาน ตลอดจนการทดลองงาน
- การบำรุงรักษาบุคลากร กิจกรรมต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจ มีทัศนคติที่ดีกับองค์กร ช่วยให้เกิดอรงจูงใจให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล โดยกระบวนการนี้ได้แก่การจูงใจ การให้ค่าตอบแทน การมอบหมายงาน การปฐมนิเทศ การหมุนเวียนตำแหน่ง การสร้างความสัมพันธ์ในองค์กร การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความก้าวหน้า วินัย
- การพัฒนาบุคลากร เป็นการพัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่แล้ว ด้วยการที่มุ่งจะเปลี่ยนแปลงวิธีการทํางาน ความรู้ความสามารถ ทักษะและ ทัศนคติของบุคลากรให้เป็นไปทางที่ดีขึ้นเพื่อให้บุคลากรที่ได้รับการพัฒนาแล้วนั้นปฏิบัติงานได้ผลตามวัตถุประสงค์ ของหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยกิจกรรมที่พัฒนาบุคลากรได้แก่ การสัมมนาทางวิชาการ , การฝึกอบรม , การปฐมนิเทศ , การส่งเสริมให้มีการศึกษา , การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ
- การให้พ้นออกจากงาน เป็นวาระสุดท้ายเมื่อพนักงานปฏิบัติมาถึงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในชีวิตการทำงาน ของพนักงานเช่น การลาออก เกษียณอายุ เลิกจ้าง เสียชีวิต เป็นต้น โดยสาเหตุของการให้พ้นสภาพมีดังนี้ การย้าย การโอน , การลาออก , การพ้นจากงานเพราะความเจ็บป่วย , การให้ออกชั่วคราว การไล่ออก , การเกษียณอายุ , การพ้นจากงานเนื่องจากตาย
หลักและระบบบริหารงานบุคคล
ระบบการบริหารงานบุคคลโดยทั่วไปหลักๆ ที่นิยมใช้มี 2 ระบบด้วยกัน คือ
- ระบบอุปถัมภ์ (Patronage System หรือ Spoil System) เป็นระบบดั้งเดิม โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากจีนโบราณ ที่มักใช้การสืบทอดทางสายเลือด รวมไปถึง การนำสิ่งของ มาแลกตำแหน่ง ลักษณะที่สำคัญ คือ
– ไม่คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ
– ไม่เปิดโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเลือกสรร
– มักมีอิทธิพลทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงกิจการภายในของหน่วยงาน
✅ข้อดี ของระบบอุปถัมภ์
– รวดเร็ว แก้ไขสะดวก
– เหมาะสมกับบางตำแหน่ง
– มีความขัดแย้งในการตัดสินใจน้อย
– สอดคล้องกับการปกครองที่มีระบบพรรคการเมือง
❌ข้อเสีย ของระบบอุปถัมภ์
– ไม่มีหลักประกันว่าจะได้คนที่มีความรู้ ความสามารถ
– ขวัญกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานไม่ดี
– มุ่งรับใช้คนมากกว่าหน่วยงาน
– หน่วยงานพัฒนาได้ยาก - ระบบคุณธรรม (Merit System) เกิดจากความพยายามที่จะแก้ไขข้อบกพร่อง ของระบบอุปถัมภ์ โดยเป็นระบบการบริหารบุคคลที่อาศัยความรู้ ความสามารถของบุคคลเป็นหลัก
โดยความสัมพันธ์ส่วนตัว มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.หลักความสามารถ (Competence) เป็นการถือความสามารถของบุคคลเป็นสำคัญ เพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ และต้องสามารถใช้ความรู้มาปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมได้อย่างเต็มที่
2.หลักความเสมอภาค (Equality Opportunity) เป็นการให้โอกาสที่เท่าเทียมกัน แก่บุคคลทั้งในการเข้าสู่การเป็นราชการและอยู่ในระหว่างการเป็นข้าราชการ ซึ่งเป็นแนวคิดตามหลัก ประชาธิปไตยที่ให้สิทธิเสมอภาคแก่บุคคลภายในขอบเขตของกฏหมาย โดยถือว่าทุกคน จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคด้วยคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
3.หลักความมั่นคงในตำแหน่งหน้าที่ (Security of Tenure) ซึ่งต้องได้รับการยอมรับและคุ้มครองตามกฎหมาย คือจะไม่ถูกปลดออกหรือไล่ออกจากงานโดยไม่มีเหตุที่พิสูจน์ได้หลักการนี้มุ่งให้ข้าราชการเกิดความมั่นคงถาวรในอาชีพและเกิดความรู้สึกมั่นคงที่จะแสวงหาความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ของตน โดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุผลส่วนตัวหรือทางการเมือง
4.หลักความเป็นกลางทางการเมือง (Political Neutrality) คือ การที่ข้าราชการประจำต้องเป็นกลางทางการเมืองและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มความสามารถโดยไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใดแต่ยังคงสิทธิทางการเมือง เช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป
✅ข้อดีของ ระบบคุณธรรม
– สอดคล้องกับระบบประชาธิปไตยที่เน้นความเสมอภาค
– ได้คนดีมีความรู้ ความสามารถเข้ามาทำงาน
– สร้างขวัญกำลังใจในการทำงาน
– ช่วยหน่วยงานมีประสิทธิภาพ
❌ข้อเสีย ระบบคุณธรรม
– ดำเนินการได้ล่าช้า
– ค่าใช้จ่ายในการสอบแข่งขันสูง
– สร้างความสัมพันธ์แบบเป็นทางการมากเกินไป
– ทำได้ยาก เพราะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง
จากความรู้ และแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การบริหารงานบุคคล มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือให้กิจกรรมหรือหน้าที่ทั้งหลายในองค์การประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ธุรกิจจะได้บุคลากรตามความรู้ความสามารถ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถองค์กรหรือธุรกิจก็จะเจริญเติบโต
🔵 บทความความรู้ทาง ธุรกิจ แนะนำ
KPI คืออะไร ทำไมทุกธุรกิจ ควรหันมาใช้
ทำความรู้จัก Data Analytics คือ อะไร ธุรกิจยุคใหม่ควรรู้
โมเดลธุรกิจ คืออะไร พร้อมตัวอย่าง Business Model