อย่างที่เราทราบกันดีว่า ปริ้นเตอร์แต่ละชนิด ก็สามารถใช้ได้กับกระดาษที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้นวันนี้ SGEPRINT ขอแนะนำชนิดของกระดาษให้ได้ทำความรู้จัก ว่าในการพิมพ์ภาพ มีกระดาาชนิดแบบไหนบ้างน้า แล้วแต่ละอย่างใช้กับอะไร 

👉กระดาษอาร์ต (Art Paper) กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ เหมาะสำหรับงานพิมพ์สี่สี เช่น โปสเตอร์ โบรชัวร์ ปกวารสาร ฯลฯ มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่

  • กระดาษอาร์ตมัน เนื้อกระดาษเรียบ เป็นมันเงา พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง สามารถเคลือบเงาได้ดี ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม, 90 แกรม, 100 แกรม, 105 แกรม, 120 แกรม ,130 แกรม, 140 แกรม, 160 แกรม

  • กระดาษอาร์ตด้าน เนื้อกระดาษเรียบ แต่เนื้อไม่มัน พิมพ์งานสีจะซีดลงเล็กน้อย แต่ดูหรู ความหนาของกระดาษมีดังนี้ คือ 85 แกรม, 90 แกรม, 100 แกรม, 105 แกรม, 120 แกรม , 130 แกรม, 140 แกรม, 160 แกรม

  • กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า เป็นกระดาษอาร์ตที่หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับพิมพ์งานโปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ หรืองานต่างๆ ที่ต้องการความหนา

  • กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า เป็นกระดาษอาร์ตที่มีความแกร่งกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการพิมพ์์แค่หน้าเดียว เช่น กล่องบรรจุสินค้าต่างๆ โปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ เป็นต้น

👉 กระดาษโฟโต้อิงค์เจ็ท (Inkjet Glossy paper) เป็นกระดาษที่ใช้สำหรับงานพิมพ์ภาพถ่ายหรืองานสิ่งพิมพ์ต่างๆ แต่ให้ความคมชัดและสวยงามและรายละเอียดที่ดีกว่ากระดาษธรรมดา เพราะมีการเคลือบผิวมาสำหรับงานด้านภาพถ่าย ทำให้ได้งานพิมพ์ที่สีสวย สด คมชัด กระดาษโฟโต้จะสามารถกันน้ำได้ ส่วนใหญ่ใช้ได้กับปริ้นเตอร์อิงค์เจ็ท การแบ่งประเภทของกระดาษโฟโต้นั้น สามารถแบ่งได้สองแบบ คือ จากรูปแบบของการเคลือบผิว และ รูปแบบของผิวกระดาษ

👉 กระดาษแบงค์ (Bank Paper) กระดาษแบงค์จะเป็นกระดาษบางๆ มักจะมีสี เช่น สีชมพู สีฟ้า ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์มหรือบิลต่างๆ ที่มีสำเนาหลายชั้น ความหนาประมาณ 55 แกรม ขึ้นไป

👉 กระดาษปอนด์ (Pond Paper) เป็นกระดาษเนื้อเรียบสีขาว ความหนากระดาษที่นิยมใช้พิมพ์หนังสืออยู่ที่ 70-100 แกรม นิยมใชพิมพ์งานสีเดียว หรือพิมพ์สี่สีก็ได้แต่ไม่สวยเท่ากระดาษอาร์ต สามารถเขียนได้ง่ายกว่าทั้งปากกา และดินสอ เหมาะสำหรับพิมพ์เนื้อในหนังสือ หรือกระดาษหัวจดหมาย

👉 กระดาษการ์ด (Card Board) เป็นกระดาษที่มีความหนา และแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น ชั้นนอกสองด้านมักเป็นสีขาว แต่ก็มีการ์ดสีต่างๆ ให้เลือกใช้ บางชนิดมีผิวเคลือบมันเรียบ ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำหนักกระดาษการ์ดอยู่ระหว่าง 110 – 350 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ที่มีราคา เช่น กล่องเครื่องสำอาง

👉 กระดาษถนอมสายตา (Green Read Pape) เนื้อกระดาษสีครีม ออกสีตุ่นๆ และไม่ขาวจั๊วะเหมือนกระดาษขาวทั่วไป ผิวกระดาษที่ไม่เรียบเท่า ความสว่างของสีมีปริมาณน้อย ช่วยดูดกลืนแสงได้ดีทำให้ลดการสะท้อนแสงเข้าตา ประมาณ15 % ซึ่งทำให้ช่วยทำให้ถนอมสายตาในการอ่านหนังสือได้นาน เหมาะกับตำราเรียน หนังสือ นิตรสาร สมุด ไดอารี่ ออแกไนเซอร์ เพราะสีกระดาษทน ไม่เปลี่ยนสี ทำให้หนังสือไม่ดูเก่าลง และมีน้ำหนักเบากว่ากระดาษปอนด์ขาวทั่วไป 

👉 กระดาษสติ๊กเกอร์ (Sticker Paper) กระดาษสติ๊กเกอร์คุณภาพดี สติ๊กเกอร์หลังเขียว (พื้นสีขาวทึบ) สามารถเคลือบกระดาษป้องกันน้ำ หมึกพิมพ์ติดแน่น ไม่กระจายตัวเมื่อโดนความชื้น มีความทนทาน สามารถติดสติ๊กเกอร์กับวัสดุผิวเรียบได้อย่างหลากหลายมากมาย เช่น บรรจุภัณฑ์ต่างๆ กระจก เป็นต้น

👉 กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก

👉 กระดาษกล่อง (Box Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อบด และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสม มีสีคล้ำไปทางเทาหรือน้ำตาล ผิวด้านหนึ่งมักจะประกบด้วยชั้นของกระดาษขาวซึ่งอาจมีผิวเคลือบมันหรือไม่ก็ได้เพื่อความสวยงามและพิมพ์ภาพลงไปได้ หากเป็นกระดาษไม่เคลือบ จะเรียก กระดาษกล่องขาว หากเป็นกระดาษเคลือบผิวมัน จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำหนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180 – 600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง ป้ายแข็ง

👉 กระดาษแข็ง (Hard Board) เป็นกระดาษหลายชั้นแข็งหนาทำจากเยื่อไม้บดและเยื่อกระดาษเก่า มีผิวขรุขระสีคล้ำ มีคำเรียกกระดาษชนิดนี้อีกว่า กระดาษจั่วปัง น้ำหนักมีตั้งแต่ 430 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป ใช้ทำใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้งโต๊ะ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ

👉 กระดาษแฟนซี (Fancy Paper) เป็นคำเรียกโดยรวมสำหรับกระดาษที่มีรูปร่างลักษณะของเนื้อและผิวกระดาษที่ ต่างจากกระดาษใช้งานทั่วไป บางชนิดมีการผสมเยื่อที่ต่างออกไป บางชนิดมีผิวเป็นลายตามแบบบนลูกกลิ้งหรือตะแกรงที่กดทับในขั้นตอนการผลิต มีสีสันให้เลือกหลากหลาย มีทั้งกระดาษบางและหนา ประโยชน์สำหรับกระดาษชนิดนี้สามารถนำไปใช้แทนกระดาษที่ใช้อยู่ทั่วไป ตั้งแต่นามบัตร หัวจดหมาย ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์