หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า “ภาษีป้าย” กันอยู่บ้างใช่ไหมคะ แต่รู้หรือไม่ว่าภาษีป้ายมันคืออะไร มีกฎเกณฑ์แบบใด และคำนวณได้อย่างไร?

วันนี้ SGE Print มีเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ “ภาษีป้าย” มาฝากทุกคนค่ะ รับรองว่าบทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจเรื่องภาษีป้ายให้กระจ่างภายในไม่กี่นาทีแน่นอน

 

 

ทำความเข้าใจใหม่ : “ป้าย” ในที่นี้หมายถึงอะไร?

 

ตามที่กฎหมายกำหมดไว้ “ป้าย” ในที่นี้ คือ ป้ายที่ปรากฏชื่อ , ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายทางการค้า ที่ใช้ในการค้าหรือโฆษณาเพื่อหารายได้ ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร ภาพ และสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะสร้างขึ้นด้วยวิธีการและบนผิววัสดุใดก็ตาม จัดเป็นป้ายทั้งหมด (รวมถึงป้ายไวนิลด้วยนะ)

 

 

รวมถึงป้ายแบบ ไตรวิชั่น (Trivision) ซึ่เป็นภาพที่สามารถแสดงภาพโฆษณาได้ 3 ภาพต่อหนึ่งพื้นที่โฆษณา ด้วยการหมุนเปลี่ยนภาพของแท่งทรงสามเหลี่ยม (Prism) ด้วยระบบมอร์เตอร์

 


ข้อยกเว้น : ป้ายแบบใดบ้างที่ไม่ต้องเสียภาษี

 

ป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษีป้ายมีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกัน ทั้งจาก พ.ร.บ.ภาษีป้ายปี พ.ศ.2510 และฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2535

 

    1. ป้ายที่ติดอยู่กับสินค้า บรรจุภัณฑ์สินค้า ติดไว้ที่คน และป้ายที่ติดไว้ที่สัตว์

 

 

    1. ป้ายที่ติดอยู่ภายในตัวอาคาร หรือพื้นที่ส่วนตัว แต่ต้องมีขนาดไม่เกินตามที่กำหมด

 

 

    1. ป้ายที่ติดอยู่หน้าโรงมหรสพเพื่อโฆษณามหรสพนั้นๆ และป้ายที่ติดบริเวณงานที่จัดขึ้นชั่วคราว

 

 

    1. ป้ายของหน่วยงานราชการ หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยรัฐบาล ป้ายวัด และป้ายมูลนิธิ

 

 

    1. ป้ายของธนาคารบางแห่ง และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

 

    1. ป้ายของสถาบันการศึกษาเอกชนที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของสถาบันตนเอง

 

 

    1. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรที่เป็นผลผลิตจากการเกษตรของตนเอง

 

 

    1. ป้ายที่มีลักษณะเป็นล้อเลื่อน หรือติดอยู่กับยานพาหนะต่าง ๆ มีพื้นที่โฆษณาไม่เกิน 500 ตารางเซนติเมตร

 

 

การคำนวณภาษีป้าย

 

    1. ป้ายที่มีขอบเขตชัดเจน

    2. ป้ายที่มีขอบเขตไม่ชัดเจน

      นับจากตัวอักษรที่อยู่ริมสุด มี 3 ประเภท ดังนี้

*เพิ่มเติมสำหรับป้ายที่ถูกประเมินภาษีป้ายน้อยกว่า 200 บาท ให้ปัดเป็นการจ่ายภาษีป้าย 200 บาท

*พื้นที่ป้ายที่คำนวณได้ หากมีเศษเกินแต่เกินกึ่งหนึ่งของ 500 ตารางเซนติเมตร หรือมีเศษพื้นที่ที่เกิน 250 ตารางเซนติเมตร ให้คิดเป็น 500 ตารางเซนติเมตร

 

การยื่นแบบประเมินเพื่อเสียภาษีป้าย

 

 

เมื่อผู้ประกอบการต้องการติดตั้งป้ายที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีป้าย ต้องทำการแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ที่สำนักงานเขต เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่จะติดตั้งป้ายให้เรียบร้อยก่อน

ช่วงระยะเวลาในการยื่น : ไม่เกินวันที่ 31 มีนาคมของปีนั้นๆ หากมีการติดตั้ง แก้ไข หรือเพิ่มป้าย หลังจากวันที่ 31 มีนาคมของปีนั้นๆ ให้ยื่นแบบประเมินภายใน 15 วันหลังจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงป้าย

 

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นแบบประเมินเพื่อเสีย ภาษีป้าย (ในกรณีที่เป็นผู้ยื่นใหม่)

 

 

    1. ใบอนุญาตติดตั้งป้าย ใบเสร็จรับเงินค่า ทำป้าย
    2. รูปป้าย พร้อมขนาดกว้าง x สูง
    3. สำเนาทะเบียนบ้าน
    4. บัตรประจำตัวประชาชน
    5. กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคลให้แนบหนังสือรับรองสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ทะเบียนพาณิชย์และหลักฐานของสรรพากร เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09, ภ.พ.20
    6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีไม่สามารถยื่นแบบได้ด้วยตนเอง พร้อมติดอากรแสตมป์ตามกฎหมาย)
    7. แบบเสียภาษีป้าย (ภ.ป.1) สำหรับผู้เสียภาษีป้ายรายเก่า
    8. การชำระเงินภาษีป้าย
    9. เมื่อได้รับหนังสือแจ้งประเมินภาษีป้ายแล้ว ให้ดำเนินการชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน

 

สถานที่ชำระเงิน : ที่สำนักงานเขต (ฝ่ายรายได้) ที่ธนาคารกรุงไทย ผ่าน ATM ธนาคารกรุงไทย และ Internet Banking ธนาคารกรุงไทย

 

บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ภาษีป้าย

 

 

  • หากแจ้งความ หรือให้การเท็จเพื่อเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • หากจงใจไม่ยื่นแบบประเมินภาษีป้ายต้องระวางโทษปรับปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท
  • หากไม่เสียภาษีป้ายภายในวันที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับวันละ 100 บาท
  • หากไม่แจ้งการรับโอนป้าย หรือไม่แสดงหลักฐานการเสียภาษีป้าย ณ สถานประกอบการค้าหรือสถานประกอบการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000-10,000 บาท

 

“ภาษีป้าย” เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะมือเก่าหรือมือใหม่ จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ ภาษีป้าย อย่างถ่องแท้ เพราะป้ายถือเป็นเครื่องมือทางการค้าขั้นพื้นฐานที่นิยมใช้กันมากที่สุด ไม่เชื่อก็ลองหันไปมองรอบ ๆ ตัวดูสิคะ จะพบว่ามีป้ายโฆษณาอยู่มากมายเลยค่ะ นอกจากนี้ภาษีป้ายยังเป็นข้อบังคับทางกฎหมายที่ไม่สามารถฝ่าฝืนได้ ทั้งยังมีบทลงโทษอย่างจริงจัง เมื่อเรามีความรู้ในเรื่องนี้แล้วก็จะสามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ไม่มีปัญหาตามมาแน่นอนค่ะ

 

 

ที่มา กรมสรรพากร