พฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนไปท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 (COVID-19) สร้างความหวาดกลัวให้กับคนในสังคม มีการหลีกเลี่ยงการเดินทางออกจากบ้าน และหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม งดพบปะเพื่อนฝูง สั่งสินค้าและอาหารผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น จากเดิมที่นิยมไปเลือกซื้อด้วยตนเองตามห้างสรรพสินค้า หรือนั่งรับประทานอาหารตามร้านอาหารต่าง ๆ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้กำลังกลายเป็น New Normal หรือสิ่งปกติที่สร้างอิทธิพลต่อการทำมาหากินของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ยุคใหม่มากขึ้นเรื่อย ๆ วันนี้ SGEPrint จะมาแนะนำวิธีรับมือให้ทัน

รู้จักกับ พฤติกรรมผู้บริโภค

พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior)

“กระบวนการตัดสินใจ ซึ่งจะเป็นการปฏิบัติที่จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการซื้อและการใช้สินค้า และ/ หรือบริการต่างๆ”

การศึกษา พฤติกรรมผู้บริโภค คือ การศึกษาเพื่อทราบถึงความต้องการ ความจำเป็นของผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อวางกลยุทธ์ทางการตลาด ให้ตอบสนองความต้องการบริโภคนั้นๆ และเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพึงพอใจสูงสุด

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค

1.รายได้ กำหนดความจำเป็นในการบริโภค

หาก ผู้บริโภค มีรายได้สูง ย่อมต้องการบริโภคสินค้าและบริการคุณภาพดี เช่น ใช้รถยนต์ราคาแพง แต่ผู้มีรายได้น้อย จะบริโภคเฉพาะสินค้าและบริการที่จำเป็นเท่านั้น

2.ราคาของสินค้า

ถ้าสินค้าราคาถูกลง ผู้บริโภคจะต้องการซื้อเพิ่มมากขึ้น เช่น ในช่วงลดราคาตามห้างสรรพสินค้า จะมีคนมาซื้อเพิ่มมากขึ้น

3.ค่านิยม รสนิยม ความเชื่อ

ทำให้คนมีความต้องการสินค้าและบริการที่แตกต่างกัน เช่น การเลือกซื้อเพราะลวดลาย หรือสีสัน เพราะตนเองชอบหรือเชื่อว่าดี

4.การโฆษณา

เป็นกลยุทธ์ของผู้ขายหรือผู้ผลิต โดยใช้เทคนิคในการโฆษณา เพื่อชักจูงให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการของตนเอง

5.ฤดูกาล

มีอิทธิพลต่อความต้องการซื้อสินค้าและบริการ เช่น ในฤดูหนาว อาหารที่ขายดีคือเนื้อย่าง แต่สินค้าที่ขายไม่ดีคือไอศกรีม

6.คุณภาพของสินค้า

สินค้าที่มีคุณภาพดี มีมาตรฐาน คงทน มักจะจูงใจให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้า

พฤติกรรมผู้บริโภค

แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคช่วง NEW NORMAL

จากการรวบรวมข้อมูล พฤติกรรมผู้บริโภค พบว่าการซื้อสินค้าหรือบริการของผู้บริโภคในปัจจุบันมีแนวโน้มพอสรุปได้ดังนี้

ระยะเวลาในการซื้อ พบว่ามีความยืดหยุ่นมากผู้บริโภคหรือผู้ซื้อมีความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการตลอดเวลาเพราะในโลกออนไลน์สามารถเลือกซื้อสินค้าต่างๆได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง และยังเป็นการหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน และไปในที่ชุมชน

ปริมาณของผู้ซื้อ ในปัจจุบันพบว่าผู้คนจำนวนมากไม่มีเวลาในการออกไปจับจ่ายใช้สอยหาซื้อสินค้านอกบ้าน  สิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับผู้ที่อยู่อาศัยที่กระจายไปอยู่ตามชานเมืองมากขึ้นทำให้มีเวลาจำกัดในการซื้อสินค้า

ลักษณะการซื้อ ในปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าช่องทางออนไลน์ เพราะสะดวกรวดเร็วกว่าการไปเดินเลือกด้วยตัวเอง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร

แหล่งซื้อสินค้า  พฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันนิยมเดินดูสินค้าตามห้างสรรพสินค้าหรือตามร้านค้า แต่กลับไปสั่งซื้อสินค้าจากช่องทางออนไลน์แทน

ลักษณะของสินค้า ในปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคหรือผู้ซื้อส่วนใหญ่นิยมซื้อสินค้าหรือบริการที่สะดวกในการใช้  ง่ายต่อการจัดเก็บและบำรุงรักษา ประหยัดเวลา ง่ายต่อการบริโภค

รูปแบบการชำระเงิน ในปัจจุบันการทำธุรกรรมออนไลน์ เป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมมาก ทำให้ความสะดวกสบายในการใช้จ่าย เป็นการก้าวเข้าสู่ยุค Cashless Society หรือ สังคมไร้เงินสดอย่างแท้จริง

ร้านค้าควรจะต้องมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการชำระเงินปลายทาง และผ่าน Mobile Banking (ธุรกรรมบนมือถือ) เช่นการมี QR Code เพื่อการชำระเงินที่ง่ายและรวดเร็วขึ้น จะช่วยทำให้มีโอกาสปิดการขายได้เร็วขึ้น จากความสะดวกและมีหลายทางเลือก

ลักษณะเกี่ยวกับตัวผู้ซื้อ ในปัจจุบันผู้คนทั่วไปหันมารักสุขภาพดูแลตัวเองมากขึ้น หมายความว่าในปัจจุบันผู้บริโภคชอบซื้อสินค้าเกี่ยวกับการดูแลตัวเองมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย เด็ก ซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนคนที่ดูแลตัวเองจะเป็นผู้หญิงหรือแม่บ้านเป็นส่วนใหญ่

ครอบครัวเล็กลงแต่เยอะขึ้น ลักษณะของครอบครัวในสังคมปัจจุบันมีขนาดเล็กลงจำนวนสมาชิกในครอบครัวน้อยลงจากแต่ก่อนมักจะอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ทำให้ลักษณะความต้องการเปลี่ยนไปตามนิสัยของสินค้าหรือบริการที่มีขนาดเล็กลง แต่ปริมาณครอบครัวจะมีจำนวนมากขึ้นทำให้โอกาสในการขายสินค้าหรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น

กลุ่มอ้างอิงเพิ่มความเชื่อมั่น เป็นกลุ่มบุคคลที่มีการชื่นชอบยอมรับนับถือทางสังคมหรือเป็นกลุ่มบุคคลที่สังคมยอมรับในด้านความคิด ทัศนคติ การรีวิวจากผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้หรือคนที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการซื้อสินค้าและบริการ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ไม่ควรมองข้าม

กระบวนการการตัดสินใจซื้อ Buying Decision Process

 การศึกษากระบวนการตัดสินใจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปฏิกิริยาของผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ ตั้งแต่แรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นที่มีส่วนในการผลักดันให้เกิดความต้องการ จนกระทั่งเกิดความตัดสินใจซื้อสินค้าในที่สุดซึ่งกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1  การค้นหาความต้องการ เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการการตัดสินใจซื้อในขั้นตอนนี้ผู้บริโภคจะถูกกระตุ้นให้เกิดความต้องการ ซึ่งสิ่งที่กระตุ้นทำให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการมีทั้งปัจจัยที่เกิดจากภายในตัวผู้บริโภคเอง

ขั้นตอนที่ 2  การค้นหาเพื่อระบุทางเลือก เมื่อผู้บริโภคเกิดความต้องการในสินค้าผู้บริโภคจะเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต้องการเพื่อนำมาประกอบในการพิจารณาทางเลือกที่จะทำให้สินค้าตอบสนองความต้องการ โดยพิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของสินค้า รูปแบบ ราคา คุณภาพ วิธีใช้ ความเชื่อถือได้

ขั้นตอนที่ 3  การประเมินทางเลือกหลังจากได้ข้อมูลต่างๆมาใช้ประกอบในการระบุทางเลือกต่างๆได้แล้ว ขั้นตอนผู้บริโภคจะประเมินทางเลือกเหล่านั้น เพื่อจะนำทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งมาใช้ในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ

ขั้นตอนที่ 4  การตัดสินใจซื้อ เมื่อผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสามารถระบุทางเลือกและประเมินผลทางเลือกได้เหมาะสมแล้ว  ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการที่ ต้องการจากการเลือกที่ได้ประเมินแล้วว่าเหมาะสมที่สุด การตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคจะพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ราคา  การขนส่ง  บริการที่ได้รับ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 5  การประเมินผลหลังจากการซื้อซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการการตัดสินใจซื้อ central ตอนที่ผู้บริโภคจะพิจารณาจากการที่ซื้อสินค้าหรือบริการไปแล้วว่าสินค้าหรือบริโภคที่ซื้อไปนั้นมีการติดตัดสินใจซื้อที่ถูกต้องหรือไม่  โดยพิจารณาจากประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้สินค้าหรือบริการตามตรงความต้องการหรือไม่

ประโยชน์ของการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค

เราควรศึกษา พฤติกรรมผู้บริโภค อยู่เสมอ เพราะมีการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคสินค้านั้น
ทำได้โดยการตอบสนองความต้องการนั้นๆ ได้ถูกจังหวะและเวลา ก็จะเป็นโอกาสให้เราประสบความสำเร็จเติบโตอย่างก้าวกระโดดเลยทีเดียว