❝ เมื่อพูดถึง ไฟล์รูปภาพ  เราก็มักจะนึกถึง พวกรูปถ่าย ภาพวาด ภาพออกแบบ ข้อความตัวอักษรต่าง ๆ รวมไปถึงรูปภาพกราฟิกต่าง ๆ

เช่น จุดเส้นสี ภาพเลขาคณิตอื่น ๆ ที่ใช้ในการตกแต่งสื่อสิ่งพิมพ์ ❞


คุณสมบัติของไฟล์รูปภาพสำหรับงานนำเสนอ
การทำงานทุกครั้งต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของไฟล์รูปภาพที่ต้องการใช้ในการนำเสนอ เช่น ภาพที่จะปรากฏนั้นจะมีขนาดเท่าไร ต้องใช้ความละเอียดของภาพเท่าไร ควรใช้ระบบสีแทบใด และเลือกรูปแบบ (Format) ของรูปภาพแบบไหนให้เหมาะสมในการนำไปใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของงานที่จะนำไปใช้ด้วย เช่น ภาพที่ใช้ทำเว็บไซต์กับภาพที่ใช้ทำโปสเตอร์ ต้องมีคุณภาพที่แตกต่างกัน เป็นต้น

201208-Content-มารู้จัก-ไฟล์รูปภาพ-สำหรับงานกราฟิกที่ควรรู้-02


ไม่ว่าจะ .JPG / .BMP / .PNG / .PSD เป็นไฟล์รูปภาพทั้งนั้น แล้วแต่ละนามสกุลมีความแตกต่างกันอย่างไร เหมาะกับการใช้งานประเภทไหนบ้าง ดังนี้


1. JPG
ย่อมาจาก (Join Photographic Export Group)

หรือเขียนอีกแบบ JPEG คือไฟล์รูปภาพที่ถูกบีบอัดให้มีความกระทัดรัดเหมาะกับการใช้งาน สามารถแสดงผลได้ถึง 16 ล้านสี จึงเหมาะกับภาพถ่าย หรือภาพกราฟิกใด ๆ ก็ตาม โดยเว็บไซต์สามารถรองรับเพื่อแสดงผลได้ปกติ

2. BMP ย่อมาจาก (Windows Bitmap)
ไฟล์นี้อาจจะเคยเห็นผ่านตามาบ้าง เวลาต้องการเซฟรูป วิธีการใช้งานพื้นฐานใกล้เคียงกับ jpg เพียงแต่ bmp นั้นจะมีขนาดของไฟล์ที่ใหญ่กว่า จึงยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก

3. GIF ย่อมาจาก (Graphics Interchange Format)
ไฟล์นี้คุ้นเคยกันดีในฐานะเป็นสติกเกอร์ที่ไว้ comment บน Facebook ไฟล์ gif เหมาะสำหรับการเก็บไฟล์รูปภาพขนาดเล็ก และมีจำนวนสีน้อย สามารถรองรับภาพแบบพื้นโปร่งได้ ที่สำคัญคือเป็นไฟล์ที่รองรับการทำภาพเคลื่อนไหว

4. PNG (Portable Network Graphics)
ข้อดีของไฟล์นี้คือ สามารถเก็บความคมชัดของภาพได้ไม่ต่างจากไฟล์ jpg แต่สามารถแสดงผลแบบพื้นหลังโปร่งใส หรือเป็นภาพที่ถูก ไดคัท (Dicut) มาแล้ว มีประโยชน์มากๆ หากโลโก้ของแบรนด์ หรือบริษัทคุณ มีไฟล์ png นี้ เพราะจะสามารถนำไปวางบนพื้นสีใด ๆ ก็ได้โดยไม่ติดขอบสี่เหลี่ยม

5. TIFF ย่อมาจาก (Tagged Image File Format)
เป็นไฟล์ที่สร้างมาเพื่อ โปรแกรมประเภทจัดหน้าหนังสือ (Desktop Publishing) เก็บรายละเอียดของภาพได้ค่อนข้างมาก และแน่นอนว่าไฟล์มีความใหญ่ จึงยังไม่เป็นที่นิยมเท่า jpg

6. PDF ย่อมาจาก (Portable Document Format)
หลายคนคงคุ้นเคยกับไฟล์นี้ที่เป็นเอกสาร แต่จริง ๆ แล้วนั้น pdf ก็ใช้เซฟหรือเปิดไฟล์รูปภาพได้เหมือนกัน และไฟล์ pdf สำหรับการทำพรีเซนต์หลาย ๆ ภาพ แล้วรวมเป็นไฟล์เดียว โดยไม่ต้องส่งภาพแยก ๆ ไปทีละภาพ

7. EPS ย่อมาจาก (Encapsulated PostScript)
ไฟล์นี้อาจจะยังไม่ได้เห็นบ่อยนัก แต่ข้อดีของไฟล์นี้คือสามารถใช้โปรแกรม preview เพื่อดูเป็นรูปภาพปกติได้ หรือจะเปิดด้วยโปรแกรม Illustrator ก็จะได้ไฟล์ที่เป็น vector ไปในตัว

201208-Content-มารู้จัก-ไฟล์รูปภาพ-สำหรับงานกราฟิกที่ควรรู้-04


ไฟล์
PSD และ ไฟล์ Ai คือไร?

1. PSD ย่อมาจาก (Photoshop Document) เป็นไฟล์ที่เกิดจากการทำงานด้วยโปรแกรม Photoshop ซึ่งเหมาะสำหรับการใช้ตัดต่อ และตกแต่งเติมสีรูปภาพต่าง ๆ สำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวกับออกแบบกราฟิก คงจะคุ้นเคยกับไฟล์นี้ดี

201208-Content-มารู้จัก-ไฟล์รูปภาพ-สำหรับงานกราฟิกที่ควรรู้-05


2. AI
ย่อมาจาก (Adobe Illustrator Artwork)
เป็นไฟล์ที่เกิดจากการทำงานด้วยโปรแกรม Illustrator ซึ่งเป็นโปรแกรมหลักในการทำงานกราฟิก โดยความแตกต่างอยู่ที่โปรแกรม Illustrator [AI] เป็นโปรแกรมที่เหมาะกับการสร้างภาพขึ้นมาใหม่

ไฟล์ ai ต้องเปิดด้วยโปรแกรม Illustrator จะได้ภาพที่เป็น Vector ซึ่งพูดอย่างง่ายๆก็คือ “ซูมแค่ไหนก็ไม่แตก” มีความละเอียดสูงมาก เพราะเกิดจากการวาดภาพขึ้นมา ที่สำคัญการทำโลโก้ที่ดี และเหมาะสม ควรจะใช้โปรแกรมนี้จ้า


ให้เราช่วยคุณพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยกระดับให้เหนือกว่าใคร ๆ กับการตลาดแบบสื่อสิ่งพิมพ์ป้ายโฆษณา & ฉลากสินค้า ออกแบบได้ด้วย ตัวคุณเอง
พร้อมให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ QC ทุกชิ้นการจัดส่ง บริการจัดส่งทั่วประเทศ งานดีมีคุณภาพ ต้อง SGE PRINT เท่านั้น!