หากพูดถึงงานศิลปะแล้วไม่มีใคร ไม่รู้จัก Golden Ratio หรือ สัดส่วนทองคำ โดยเฉพาะนักออกแบบทั่วโลกนำมาใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์มากมาย เช่น โลโก้ ภาพวาด สถาปัตยกรรม การถ่ายภาพ การออกแบบ ใบปลิว หรือแม้กระทั่งใบหน้าของเราก็สามารถหาสัดส่วนทองคำเพื่อใช้ในการวิเคราะห์การทำศัลยกรรมได้อีกด้วย

Golden Ratio (สัดส่วนทองคำ) มาจากทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ที่จะมีค่าเท่ากับ 1 : 1.618 เป็นทฤษฎีที่คำนวณหาสัดส่วนที่งามที่สุดในโลก โดยเป็นสูตรคำนวณที่คิดค้นโดย ลีโอนาโด ฟีโบนัชชี นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี ที่ได้พยายามใช้ตัวเลขมาอธิบายความงามของธรรมชาติ เพราะ สัดส่วนทองคำ สามารถหาได้ทั่วตามธรรมชาติ

Golden Ratio ความสัมพันธ์ กับตัวเลข
โดย Golden Ratio มีความสัมพันธ์กับเลข Fibonacci Sequence ซึ่งเป็นตัวเลขที่สร้างขึ้นจากการเริ่มต้นที่เลข 0, 1 และต่อเนื่องด้วยเลขใหม่ที่เป็นผลมาจากผลรวมของเลขสองตัวแรกคือ 0+1 = 1, 1+1 = 2, 1+2 = 3, 2+3 = 5 … ทำให้เกิดการเรียงลำดับ 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144, 233 …

ลำดับการเรียงของอัตราส่วนในลักษณะนี้จะให้ค่า 1/1 = 1, 2/1 = 2, 3/2 = 1.5, 5/3 = 1.666…, 8/5 = 1.6, 13/8 = 1.6525, 21/13 = 1.615…, 34/21 = 1.619…, 55/34 = 1.6176, 89/55 = 1.6181…

Golden Ratio ความสัมพันธ์ กับธรรมชาติ
ปัจจุบันเราจะเห็นว่ายังมีคนที่ศึกษาเรื่องนี้แบบจริงจัง และพยายามที่จะโยงหา Golden Ratio จากทุกๆ อย่างเช่นโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ปีกผีเสื้อ เปลือกหอย จนถึงสัดส่วนของ DNA คำถามคือ มันเป็นสัดส่วนที่น่าสนใจจริงหรือ? และปรากฎการณ์ที่น่าอัศจรรย์คือตัวเลข Fibonacci นี้ปรากฎในพืชและดอกไม้หลายชนิด 

เมื่อนับดอกไม้ในพืชส่วนใหญ่จะพบตัวเลข Fibonacci เช่น ดอกไอริสมี 3 กลีบ พริมโรส 5 กลีบ เดลฟิเนียม 8 กลีบ แร็กวอร์ด 13 กรีบ แอสเตอร์ 21 กลีบ เดสซี 13, 21 หรือ 34 กลีบ เดสซีบางพันธุ์มี 55 และ 89 กลีบซึ่งล้วนเป็นตัวเลข Fibonacci ทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็น ดอกไม้ สัตว์ ใบหน้ามนุษย์ งานศิลปะระดับโลก หรือ แม้กระทั้งสถาปัตยกรรมดังๆนั้นก็ล้วนแฝงไปด้วย สัดส่วนทองทำ (Golden Ratio) ทั้งนั้น

Golden Ratio เป็นรากฐานของงานศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกมากมาย ตั้งแต่มหาปิรามิดแห่งกิซ่าในอียิปต์ไปจนถึงภาพวาด โมนาลิซ่า ของ เลโอนาร์โด ดา วินชี

Golden Ratio ( สัดส่วนทองคำ ) กับการออกแบบ

สัดส่วนทองคำนั้นไม่ได้มีแค่รูปแบบเดียว แต่ยังมีหลายรูปแบบเช่น รูปสามเหลี่ยมที่เป็นสัดส่วนทองคำรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีด้านเท่าสองข้างเท่ากันซึ่ งจะตรงกับอัตราส่วน Golden Ratio

เช่นจะวางตัวอักษร Typography ระหว่าง Headline กับ Body text ว่าควรใช้ตัวอักษรขนาดเท่าไหร่ดี ก็ลองคำนวณสูตร Golden Ratio อย่างง่ายคือ A/B เอา ขนาด Headline 20 / Body text 12 จะได้ = 1.6 พอดี ซึ่ง 1.6 เป็นอัตราส่วนของ Golden Ratio พอดี

สัดส่วนทองคำตัวอย่างการออกแบบ โลโก้โดยใช้สัดส่วนทองคำ จะเห็นว่าสัดส่วนทองคำไม่ได้มีลักษณะก้นหอยอย่างเดียว 

คุณสามารถดาวน์โหลด Template มาลองใช้งานกับการออกแบบได้ ที่นี่ 👈 

เมื่อโหลดมาแล้วลองใช้ง่ายแบบง่ายๆ คือ การใช้งานไปวางไว้บนสุด Layer ของ Artwork โดยเราจะกลับซ้าย หรือกลับขวาหมุนไป หมุนมา ได้ทั้งนั้น เพื่อให้เราได้เห็นเส้นแบ่ง colum ที่เราชอบ โดยที่ไม่ได้มีข้อกฏตายตัวว่าจะต้องยึดสัดส่วนของเฟรมแบบลงได้พอดี เพราะต้องออกแบบงาน Ratio ที่หลากหลายเพื่อ Screen-Device ที่แตกต่างกัน

Twitter Golden Ratioจะเห็นว่า Twitter ก็ใช้หลักการของ Golden Ratio ออกแบบ UX UI ด้วยเหมือนกัน

โดยการใช้เส้น Grid ด้านในให้มีความสัมพันธ์ต่อกันตามหลักการนี้ ยืดออก/หดเข้า ได้ มีความยืดหยุ่นประมาณหนึ่ง อีกหลักการที่น่าสนใจคือ ใช้ประโยชน์ของเส้น Grid เพื่อกำหนด Space และ Alignment ของกราฟฟิกต่างๆอย่างสมดุล เช่นช่องไหนเราจะจัดให้เป็นพื้นที่ว่างและข่องไหนเป็นส่วนที่เน้นที่สุดของภาพ โดยส่วนใหญ่นักออกแบบมือใหม่ก็มักวางใว้ในจุดเริ่มต้นของเส้นลายก้นหอยที่จะม้วนออกมาแบบไม่มีที่สิ้นสุด

เลโอนาร์โด ดา วินชี ใช้ สัดส่วน 1 : 1.618 นี้ในการวาดรูป โมนาลิซ่า เรียกได้ว่าทุกสัดส่วนของภาพโมนาลิซ่า ดาวินชีได้ใช้สัดส่วนนี้เข้าไปทั้งหมด ภาพโมนาลิซ่าเลยเป็นภาพที่น่าพิศวง และแรงดึงดูดมากๆ

จริงๆ แล้วการใช้ Golden Ratio อาจจะไม่ได้ช่วยให้งานออกแบบสวยขึ้นทีเดียว เพราะองค์ประกอบในการออกแบบยังมีอีกหลายอย่างที่ต้องดู ซึ่งถ้าคุณต้องการออกแบบงานซักชิ้นหนึ่ง ก็สามารถใช้ Ratio หรือ ค่าของ สัดส่วนทองคำนี้ไปใช้เป็นหลักอ้างอิงในการออกแบบได้ ดีกว่าออกแบบมาจากความวางเปล่าไม่ได้มีหลักยึดใดๆ