ความหมายของบทความ

บทความ คือ ความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริง และในเนื้อหานั้น ผู้เขียนได้ใส่ความคิดเห็นตัวเองลงไปด้วย โดยผู้เขียนจะต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดข้อความ เพื่อให้สาระ แจ้งข้อเท็จจริง แสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ออกมาเป็นงานเขียนในรูปของการ เขียนบทความ

ขั้นตอนในการ เขียนบทความ

  1. กำหนดขอบเขตของเรื่องที่จะเขียน
    ถ้าเราสามารถเลือกเรื่องที่จะเขียนได้เอง การเลือกเรื่องที่เรามีความสนใจ มีความรู้ มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ อยู่แล้ว ก็จะมีส่วนช่วยให้เราเขียนถ่ายทอดออกมาได้ง่ายและลื่นไหล และยิ่งเลือกเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป เรื่องนั้นมีแนวโน้มที่จะมีคนสนใจอ่านเป็นจำนวนมาก
  2. กำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน ว่าเขียนเพื่ออะไร
    เช่น เพื่อให้ข่าวสาร เพื่อให้ความรู้ เพื่อแสดงความคิดเห็น เพื่อการโน้มน้าวใจ เพื่อความบันเทิง เพื่อให้แนวคิดในการดำเนินชีวิต เป็นต้น
  3. กำหนดกลุ่มผู้อ่านเป้าหมาย ว่าเขียนเพื่อใคร
    เราต้องคำนึงถึงผู้อ่านของเราด้วยว่า อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ เป็นแบบไหน เนื่องจากลักษณะและคุณสมบัติ วัยวุฒิของผู้อ่านจะมีผลต่อเนื้อหาที่เราจะเขียน ตลอดจนเรื่องของการใช้ภาษา ถ้อยคำ และคำศัพท์ต่างๆ

เขียนบทความ

เคล็ดลับวิธีการ เขียนบทความ ให้น่าสนใจ ยอดขายรัวๆ

การเขียนบทความ ให้น่าอ่าน และมีผู้อ่านสนใจ จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเขียนให้ รวบรัด กระชับ ความ เน้นการบรรยายสั้น ๆ และไม่ควรเล่าอย่างไร้จุดหมายปลายทาง การเขียนบทความที่ดี จะต้องมีประเด็นชัดเจน ผู้อ่านสามารถอ่าน และทำความเข้าใจได้ ในเวลาอันรวดเร็ว

1.หัวข้อโดนใจ ใคร ๆ ก็คลิ๊ก

หัวข้อคือส่วนประกอบสำคัญ ที่ทำให้บทความน่าดึงดูดใจ และทำให้ผู้อ่านต้องการอ่านต่อ ซึ่งส่วนของบทความดังที่กล่าวข้างต้นนั้น ผู้เขียนอาจจะเลือกใช้ถ้อยคำที่เป็นสำนวนน่าสนใจ ยกตัวอย่างแคปชั่นผู้เขียน

ถึงหน้าไม่อ่อนวัย แต่ใจพี่อ่อนโยน 

2.ใช้คำง่าย ๆ แต่ไม่ใช่ภาษาวิบัติ

ในการเขียนบทความ ผู้เขียนจะต้องทำความเข้าใจว่า บทความจะต้องเผยแพร่ในที่สาธารณะ  ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ภาษาวิบัติ ศัพท์เฉพาะ หรือศัพท์ที่ยาก จนเกินไปซึ่งอาจทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือ

3.สื่อสารแบบจับมือทำเหมือนสอนอาม่าใช้คนละครึ่ง

ผู้เขียนควรมีการยกตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายๆ ส่วนใหญ่แล้ว การ เขียนบทความ ที่ดี ผู้เขียนบทความ ที่มีความเป็นมืออาชีพจะมีการยกตัวอย่างหรืออธิบายให้เห็นภาพ แบบสอนอาม่าใช้คนละครึ่ง คือแบบจับมือทำกันเลยที่เดียว

4.ยาวไปไม่อ่าน

สมัยนี้บทความถ้าไม่สะดุดตา ด้วยภาพหรือหัวข้อ ยิ่งเป็นเรื่องยากที่จะสะกดให้นิ้วโป้งน้อย ๆ ของผู้อ่านหยุดดูบทความเรา

5.ใช้รูปประกอบ

หากบทความ สามารถอธิบายให้เข้าใจด้วยถ้อยคำได้ยาก การนำภาพประกอบเข้ามาใส่ในบทความนับเป็นอีกทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่ง ซึ่งหากผู้เขียนบทความไม่ได้ทำภาพประกอบเองควรเลือกภาพประกอบจากเว็บไซต์รวมรูปภาพฟรี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในภายหลัง

ประโยชน์ของการเขียนบทความ

1. การเขียนช่วยจัดระบบความคิด

2. ทำให้มีสมาธิ

3. เข้าใจตัวเองมากขึ้น

4. เป็นหนึ่งในทักษะการสื่อสารที่สำคัญ  

5. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

6. สามารถใช้หารายได้

SGEprint ขอฝากไว้ว่าการเขียนบทความ ใด ๆ ก็แล้วแต่ต้องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับผู้อ่าน แก่สังคม แก่บุคคลทั่วไปไม่ให้ข้อมูลเท็จ