แต่ก่อนเรามีข้อมูลเยอะๆ เราก็จะเก็บไว้เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงแค่เครื่องเดียว แต่พอข้อมูลมันเยอะมากยิ่งขึ้น ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถเก็บข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้ ยิ่งมีข้อมูลที่เกี่ยวกับการคำนวณก็จะทำได้ช้าลง จากข้อมูลธรรมดา เมื่อระยะเวลาผ่านไปก็อาจจะกลายเป็น Big Data ในที่สุด

บิ๊กดาต้า คือ ข้อมูลทุกอย่างที่ทั้งที่ถูกสร้างขึ้น และบันทึกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ เมื่อถูกจัดเก็บมาได้ระยะเวลาหนึ่งจนเกิดเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่จนคอมพิวเตอร์ธรรมดาๆ เครื่องหนึ่งไม่สามารถที่จะประมวลผลนำไปใช้งาน อาจจะต้องมี Server หลายๆ เครื่อง หรือใช้ Cloud Server และต้องมีการเก็บข้อมูลลงบน ฐานข้อมูล (Database) โดยฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันเช่น Mysql , Oracle การเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีซอร์ฟแวร์ระบบฐานข้อมูลพวกนี้ ก็จะช่วยให้การทำงานวิเคราะห์ข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถดึงข้อมูลที่ต้องการมาประมวลผลใช้งานได้อย่างรวดเร็ว (Query)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับ บิ๊กดาต้า
Data Processing เป็นกระบวนการที่ได้หลังจากได้ Raw Data มา ต้องมีการทำความสะอาดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านี้นำไปใช้งานได้
Raw Data คือ ข้อมูลดิบๆ ที่ได้จากการเก็บมายังไม่ได้แปลงมาเป็นฐานข้อมูล ถ้านึกไม่ออกให้นึกถึงการเก็บข้อมูลใน Worksheet ของ Excel หรือข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบ TXT ที่อาจได้จากการเก็บข้อมูลลงทะเบียน

สรุปขั้นตอนที่สำคัญของ บิ๊กดาต้า

1. จัดเก็บข้อมูล (Storage)
ถือว่าเป็นขั้นตอนแรกๆ ในกระบวนการเลย โดยธรุกิจต้องจัดเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ  รวมถึงข้อมูลที่คาดว่าอาจจะเป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ไฟล์เอกสาร ไฟล์รูปภาพ ไฟล์วีดีโอ ไฟล์เสียงที่ถูกบันทึก จะถูกเก็บรวบรวมไว้ที่นี่

2. การประมวลผลข้อมูล (Processing)
การประมวลผลข้อมูล เมื่อเรามีข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมไว้ได้ในเดียวแล้ว (Storage) ข้อมูลต่างๆ จะถูกนำไปจัดหมวดหมู่ให้อยู่ในกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกันหรือความสัมพันธ์ใกล้เคียงกัน ให้ผลลัพธ์คล้ายคลึงกันมากที่สุด แล้วจึงนำมาเปลี่ยนเป็นรูปแบบข้อมูลเพื่อนำเอาข้อมูลที่มีอยู่เหล่านี้เข้าระบบข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว

3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analyst)
การวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูล หลังจากที่ข้อมูลทั้งหมดได้ถูกจัดกลุ่มและแยกประเภทเรียบร้อยแล้วนั้น ต่อจากนั้นจะนำมาวิเคราะห์หา Pattern ความเกี่ยวข้องกันทั้งหมด ที่อาจมองไม่เห็นได้เลยด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นการหา แนวโน้มของการตลาด ความต้องการของลูกค้า กระแสที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต และข้อมูลด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ และจัดมานำเสนอในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือกราฟ

ตัวอย่างการนำ Big Data มาใช้กับธุรกิจ

Netflix คือตัวอย่างธุรกิจหนึ่งที่นำ Big Data มาใช้ แล้วเกิดผลสำเร็จมากที่สุด จากบริษัทให้เช่าหนังแผ่นหนัง DVD ธรรมดา กลายมาเป็นผู้ให้บริการสตรีมมิงที่ด้านความบันเทิงที่มียอดผู้ใช้งานสูงถึง 200 ล้านราย และสร้างรายได้มากกว่าแสนล้านบาท มาดูว่า Netflix สร้างรายได้ จากข้อมูลได้อย่างไร

Netflix Big Data

👍 ใช้ทำนายคนดู หรือ รายการแนะนำ โดย Netflix ต้องการทำนายว่าคนดูชอบดูเรื่องอะไร เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาดูซีรีย์ เทื่อดูจบแล้ว ยังคงอยู่ในแพลตฟอร์ม และดูซีรีย์ต่อไปเรื่อยๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สมาชิกต่ออายุสมาชิกไปเรื่อยๆ หรือ ติดซีรีย์ หรือหนัง งอมแงมนั่นเอง
โดย Netflix เริ่มจากนำข้อมูลการดูหนัง นำมาวิเคราะห์หาว่าลูกค้าน่าจะมีโอกาสชอบหนัง หรือดูซีรีย์แนวไหนอีกบ้าง และนำเสนอในรูปแบบ รายการแนะนำ เมื่อผู้ใช้งาน หรือลูกค้าเห็นแทนที่จะเลิกดู Netflix ก็เปลี่ยนใจเข้าดูรายการ หรือ ซีรีย์เรื่อนั้นๆ ต่อ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็ฯอย่างมาก นอกจากนี้ Netflix ยังนำข้อมูลที่มีอยู่ไปใช้วิเคราห์อีกมากมาย ซึ่งทำให้ Netflix เป็นผู้นำในการใช้ประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าคู่แข่งมากมาย

👍 ใช้วางแผนการผลิตคอนเท้นต์ เราจะเห็นได้ว่าช่วงหลังๆ เน็ตฟลิกซ์  เริ่มมาลุยการสร้างคอนเทนต์ด้วยตัวเอง แทนการเช่าลิขสิทธิ์มาลงในแพลตฟอร์มเพียงอย่างเดียว ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมจะถูกนำไประดมความคิดจนนำไปสร้างรายการหรือภาพยนตร์ใหม่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ทาง เน็ตฟลิกซ์ ประหยัดค่าใช้จ่าย ระยะเวลา รวมถึงการวางแผนที่ยุ่งยากน้อยลงได้มากเลยทีเดียว

👍 การเลือกภาพปก ฟังไม่ผิดแน่นอน เน็ตฟลิกซ์  ใช้ บิ๊กดาต้า ในการเลือกภาพปก หลายๆ คนที่ใช้บริการมาบ้างแล้วคงจะสงสัยไม่น้อยว่าทำไมภาพปกของหนัง หรือรายการ ต่างๆ ถึงมีการปรับเปลี่ยนการแสดงไปเรื่อยๆ โดยทาง เน็ตฟลิกซ์  เผยว่าหน้าเปิดภาพยนตร์ของแต่ละคน ถูกออกแบบให้ขึ้นอยู่กับนิสัยการดูโดยแท้จริง การใช้ภาพปกให้แต่ละเรื่องดูแตกต่างกันไป เพียงเพื่อให้หน้า Page ดูน่าสนใจ และยังไม่เพียงดูเฉพาะภาพปกของแต่ละเรื่องอย่างเจาะจงเท่านั้น แต่ยังคิดถึงการให้ทั้งหน้าเพจมีรูปที่ดูสอดคล้องกันด้วย

Start-ควรเริ่มทำ-Big-Data-ได้แล้ว

อย่างแรกหากธุรกิจควรเริ่มต้นจากการ”เก็บข้อมูลให้ถูกต้อง”เสียก่อน หลายองค์กรเสียเวลากับการวางแผนเรื่องการเก็บข้อมูลนานมาก ว่าจะเก็บข้อมุลไหนบ้าง เก็บอะไรบ้าง จนทำให้ใช้เวลาไปกับการวางแผนเก็บข้อมูล ไม่ได้เริ่มเก็บข้อมูลเสียที (โดยในเริ่มแรกอาจใช้ Tools ฟรีอย่าง Google Data Studio ) ก่อนก็ได้ แล้วค่อยขยับไปเสียเงิน หรือราคาแพงๆ ธุรกิจควรจะเริ่มเก็บข้อมูลไปพร้อมๆ กับการวางแผน แล้วจะรู้เองว่าควรเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เพราะอย่าลืมว่าข้อมูลบางอย่างเมื่อเวลาผ่านไปแล้วมันไม่สามารถเก็บย้อนหลังได้ก็มี เพราะฉะนั้นวันนี้หากใครเริ่มก่อนมีโอกาส ชนะ หรือ อยู่รอดในธุรกิจอย่างแน่นอน

อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ธุรกิจคงเริ่มเห็นแล้วว่า BigData มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจอย่างไรบ้าง และในวันที่โลกเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว หากธุรกิจยังไม่รีบปรับปรุง พัฒนา และตามให้ท่าน หรือยังคงจดจ่อกับความสำเร็จแบบในอดีต วันหนึ่งอาจจะทำให้ธุรกิจที่เคยรุ่งโรจน์อาจจะต้องหยุดชะงักลง หรือล้มหายตายจากสารบบ หรือเจอคู่แข่งที่ไม่เคยคาดคิดพัฒนาตามจนทัน จนในที่สุดวิ่งแซงเราไปในท้ายที่สุด