วันนี้ SGEPrint จะมาแนะนำ เว็บขายของออนไลน์ ที่จะช่วยให้คุณสามารถสร้างร้านค้าออนไลน์ให้ชาวโลกได้เห็นสินค้าของคุณเอง ลงขายสินค้าได้ฟรี ให้คุณขายของได้ตลอด 24 ชั่วโมง คัดมาเฉพาะเด็ดๆ ขายได้จริง

รีวิว เว็บขายของออนไลน์ ยอดนิยม ใช้ฟรี ใช้งานง่าย

lazada

Lazada

เว็บขายของออนไลน์อันดับ 1 ของไทย ที่ชอบใช้ดาราหรือนักร้องที่มีชื่อเสียงทั้งในไทยและต่างประเทศเป็นพรีเซ็นเตอร์ และเว็บนี้มีนายทุนเป็นเจ้าใหญ่ที่มีระบบการขายที่ดี สร้างแคมเปญอย่างหนัก จัดส่วนลดอยู่ตลอด จึงกระตุ้นยอดขายได้มากกว่าที่อื่น

มีครอสสอนการเรียนขายของให้ร้านค้าศึกษา เรียกว่ามหาวิทยาลัยลาซาด้า (Lazada University) มีจุดประสงค์ตั้งเพื่อช่วยให้สมาชิกของลาซาด้าไม่พลาดโอกาสทางการช่วยเหลือในการขายสินค้า โดยสามารถดูวิดีโอการสอน และการเข้าถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องในงานของลาซาด้า เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกมาเรียน สามารถลงทะเบียนออนไลน์สำหรับการฝึกสอนส่วนตัวในเรื่องที่สนใจ

สามารถเปิดร้านของตัวเองได้ฟรี มีระบบสต็อกสินค้า ระบบจัดส่งสินค้าให้ใช้ฟรีอีกด้วย โดยแยกระบบผู้ซื้อกับผู้ขายอย่างชัดเจน เปิดร้านที่นี่คนเห็นเยอะ โอกาสขายได้สูง ถ้าสินค้าคุณมีคุณภาพ ราคาไม่แรงจนเกินไป หากคุณสนใจเปิดร้านต้องใช้ลิงค์สำหรับร้านค้าเท่านั้น

สนใจเปิดร้าน คลิ๊กเลย Lazada Seller Center

เว็บขายของออนไลน์

Shopee

สำหรับเว็บนี้มาแรงไม่แพ้เจ้าแรก กระหน่ำแคมเปญไม่แพ้กันโดยสามารถลงขายได้ทั้งมือ1มือ2  โดยเจ้าของสินค้าสามารถสร้างร้านค้า ใช้ระบบสต็อกสินค้า ระบบจัดส่งสินค้าฟรี สามารถจัดแคมเปญ โปรโมชั่น โค้ดส่วนลดร้านค้าของคุณได้เช่นกัน และที่นี่ก็มีศูนย์การเรียนรู้สำหรับผู้ขายเช่นกัน หรือที่เรียกว่า Shopee University โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนร้านค้าออนไลน์ให้สามารถพัฒนาและสร้างการเติบโตบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ ซึ่งกิจกรรมถูกจัดขึ้นในรูปแบบของการเวิร์คช็อปโดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ Beginner, Advance, และ Expert เพื่อให้การจัดสรรเนื้อหาเป็นได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับระดับความรู้ความเชี่ยวชาญพื้นฐานของผู้เรียน โดยเนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่เรื่องพื้นฐานอย่างการเริ่มสร้างธุรกิจออนไลน์เบื้องต้น ไปจนถึงทักษะในการขายบนแพลตฟอร์มช้อปปี้ขั้นสูง

สนใจเปิดร้าน คลิ๊กเลย Shopee Seller Centre

ali

AliExpress

เว็บขายของที่มีลูกค้าจากทั่วโลก คุณสามารถซื้อสินค้าจากผู้ผลิตได้โดยตรง แต่การจัดส่งจะนานเพราะมาจากต่างประเทศ หรือถ้าหากคุณขายของที่นี่ คุณก็จะได้ลูกค้าจากทั่วโลกเลยทีเดียว

หากคุณสนใจเปิดร้าน AliExpress Global Selling

เว็บขายของออนไลน์

e-bay

เว็บขายของออนไลน์ แรกๆ ของโลก ที่มีลูกค้าจากทั่วทุกมุมโลก จุดเด่นคือนอกจากซื้อขาย ยังมีการประมูล ที่เหล่าบรรดานักสะสมผู้แสวงหาของหายากต่างโปรดปราน

หากคุณสนใจเปิดร้าน sellercenter.ebay

เว็บขายของออนไลน์

Lnwshop

จุดเด่นของ เทพshop นั้นคือด้าน SEO คุณสามารถติดอันดับ google ง่ายกว่าร้านอื่น แต่ระบบหลังบ้านใช้งานยากกว่า ต้องใช้เวลาศึกษา

หากคุณสนใจเปิดร้าน lnwaccounts

ข้อดีของ เว็บขายของออนไลน์

  • ไม่มีหน้าร้านก็สามารถขายสินค้าได้
  • ไม่ต้องมีพนักงานขาย
  • ลงทุนน้อยไม่ต้องเช่าพื้นที่
  • บริการจัดส่งตรงถึงหน้าบ้านลูกค้า
  • เป็นตัวเลือกในการเลือกซื้อสินค้า
  • ลูกค้าสามารถติดต่อพูดคุยกับทางร้านได้โดยตรง
  • มีการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์
  • สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ

ข้อเสียของเว็บขายของออนไลน์

  •  มีการแข่งขันสูงในประเภทที่ขายดี
  •  ความเชื่อมั่นในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์อาจยังน้อยเมื่อเทียบกับการซื้อโดยตรง
  •  สินค้าบางอย่างไม่สามารถนำมาขายออนไลน์ได้
  •  ความไม่ปลอดภัยจากระบบคอมพิวเตอร์อาจทำให้ระบบชำระเงินไม่ปลอดภัย อาจเกิดจากช่องโหว่ของเว็บไซต์
  •  ไม่สามารถกำหนดราคาสินค้าแพงกว่าท้องตลาดได้ อาจทำให้ขายสินค้ายากขึ้น

วิธีชนะใจลูกค้าทั้ง “ออนไลน์ – ออฟไลน์”

1. ผู้บริโภคไทยปรับตัวเข้าสู่โลกช้อปปิ้งออนไลน์มากที่สุดในโลก ดังนั้น ในด้านหนึ่งคือ โอกาสการเติบโตของแบรนด์ในการขยายช่องทางการขาย ขณะที่อีกด้านคือ เมื่อผู้บริโภคมีประสบการณ์การซื้อสินค้าบนออนไลน์แล้ว จนเกิดความคุ้นชิน และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน เท่ากับว่าผู้บริโภคย่อมมีความคาดหวังประสบการณ์การช้อปที่มากขึ้น ดังนั้น แบรนด์ – นักการตลาดต้องทำการบ้านหนักขึ้นกว่าเดิม เพื่อสามารถพัฒนาแบรนด์ และช่องทางการขายให้ตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้บริโภคได้

2. พฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ เมื่อก่อตัวขึ้นแล้ว จะอยู่ไปตลอด เพราะฉะนั้นเมื่อสถานการณ์ COVID-19 สิ้นสุดลง หรือคลี่คลาย และโลกเข้าสู่โหมดรีสตาร์ทใหม่ ไม่ได้หมายความว่าพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์จะหายไป หากแต่ยังคงอยู่ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่แบรนด์ต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนบนช่องทางนี้มากขึ้น

3. ผู้บริโภคไทยต้องการประสบการณ์ช้อปปิ้งที่สะดวก – รวดเร็ว และเชื่อมต่อทุก Touchpoint ทั้งออนไลน์ – ออฟไลน์ เพราะฉะนั้นการออกแบบ Customer Journey ในทุกช่องทางต้องพัฒนาให้เชื่อมต่อกันอย่าง Seamless ไม่ว่าผู้บริโภคจะไปใช้บริการช่องทางไหน ข้อมูลต้องเชื่อมต่อกัน

4. เส้นทางการซื้อของผู้บริโภค ต้องกระชับ จบได้ในแพลตฟอร์มเดียว ตั้งแต่การค้นหาแรงบันดาลใจ หรือการได้แรงบันดาลใจ การค้นหาข้อมูลสินค้า การซื้อสินค้า การชำระเงิน ต้องอยู่ภายในแพลตฟอร์มเดียวกัน

5. เสาหลักของประสบการณ์ออนไลน์ที่ดี ประกอบด้วย 3 เสา คือ

– ความโปร่งใส ตรงไปตรงมา เช่น รีวิวจากผู้ใช้จริง เปิดคอมเมนต์ให้เห็น

– ให้ข้อมูลละเอียด รู้ว่าผู้บริโภคแต่ละคนต้องการรู้เรื่องอะไร

– สะดวก และรวดเร็ว ทั้งการตอบกลับ การจัดส่ง การคืนสินค้า รวมทั้งความรับผิดชอบของแบรนด์ที่มีต่อลูกค้า

6. ครีเอทคอนเทนต์สร้างสรรค์ และตอบโจทย์ผู้บริโภค โดยแบรนด์ควรจัดเตรียมคอนเทนต์หลากหลาย เช่น ข้อมูลสินค้า ภาพสินค้า วิดีโอรีวิว ข้อมูลการตอบคำถามที่มีสอบถามเข้ามาบ่อย

7. เชื่อมโยงบัญชีผู้ใช้ครอบครัว เพื่อส่งต่ออิทธิพลของคนในครอบครัวเดียวกันในรูปแบบดิจิทัล เนื่องจากผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจตัวจริง คือ คนในครอบครัว ดังนั้น แบรนด์ควรเชื่อมโยงบัญชีผู้ใช้ในครอบครัวเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น เปิดให้เป็น Family Account แล้วนำเสนอสิทธิพิเศษให้โดยเฉพาะ หรือทำข้อเสนอ Cross-sale ซึ่งจะเป็นโอกาสต่อยอดธุรกิจได้มากขึ้น

8. ใช้พลังข้อมูลผู้บริโภค สร้างความภักดีด้วย Loyalty Program จุดแข็งสำคัญของแพลตฟอร์มออนไลน์ คือ ทุกขั้นตอนของ Customer Journey บนออนไลน์ ทำให้แบรนด์ได้ Consumer Data ซึ่งแบรนด์ต้องนำ Data มาศึกษา ทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการพัฒนาประสบการณ์ลูกค้าให้ดีขึ้น เช่น นำเสนอ Rewards หรือสิทธิพิเศษโดนใจลูกค้าแต่ละบุคคล และเมื่อลูกค้าเกิดประสบการณ์ความประทับใจ เกิดความผูกพันกับแบรนด์แล้ว จะทำให้แบรนด์นั้นมี Loyal Customers

9. แบรนด์ต้องคิดใหม่ ค้นหาว่าผู้บริโภคพบแรงบันดาลใจได้อย่างไร จากเดิมที่ผู้บริโภคเริ่มต้นพบแรงบันดาลใจจาก Search แต่เนื่องจากทุกวันนี้มีแพลตฟอร์มออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย ทำให้การค้นพบแรงบันดาลใจของผู้บริโภคจึงไม่ได้มาจาก Search Engine เสมอไป

เพราะฉะนั้น Inspiration ของการซื้อ ในปัจจุบันจึงมาจากหลายทาง เช่น การได้อ่าน ได้ดูคอนเทนต์ Live Streaming, Social Media ดังนั้น แบรนด์ต้องเข้าใจช่องทางไหนที่จะสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้บริโภคได้ เพื่อนำไปวางแผนคอนเทนต์ที่แตกต่างกัน เข้าไปอยู่ในแต่ละแพลตฟอร์ม

10. แบรนด์ต้องเริ่มพัฒนา D2C และบาลานซ์ช่องทางการขายแต่ละประเภทให้ดี เนื่องจากปัจจุบันช้อปปิ้งออนไลน์ มีบนหลายแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะ e-Marketplace แต่วันนี้แบรนด์ต้องกลับมาให้ความสำคัญในการสร้าง Own Channel หรือ D2C ของตัวเอง เพื่อดึงผู้บริโภคมาอยู่ในบ้านของเราให้ได้ และทำให้เส้นทางการซื้อของผู้บริโภคอยู่บนช่องทางของแบรนด์เองตลอดทั้ง Customer Journey ตั้งแต่เข้ามาหาแรงบันดาลใจ ค้นหาข้อมูล ไปจนถึงตัดสินใจซื้อ และต่อยอดสู่การทำ Loyalty Program เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว และความผูกพันระยะยาว

ขณะเดียวกันต้องบาลานซ์แต่ละช่องทางการขายให้มีประสิทธิภาพ ทั้งการอยู่บน e-Marketplace, Social Commerce, D2C, Physical Shop และเชื่อมต่อทุกช่องทางให้ได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อในที่สุดจะเป็น Omni-channel ที่สมบูรณ์

ความเห็นผู้เขียน

จะเห็นได้ว่าการมีพื้นที่ให้คนเห็นสินค้าของเราบนโลกออนไลน์ก็เป็นทางเลือกที่ดี ใช้ทุนน้อย เพียงแค่เราจริงใจกับลูกค้า ซื่อสัตย์กับลูกค้าของเรา ไม่เอาของคุณภาพไม่ดี หรือไม่ตรงปกมาให้ลูกค้าก็จะทำให้เกิดความไว้วางใจจากลูกค้า ในช่วงวิกฤตแบบนี้ SGEPrint ของให้ทุกคนผ่านช่วงเวลานี้ไปได้อย่างราบรื่น ค้าขายดีๆ ขอเอาใจช่วยครับ