ปัจจุบันเราพบเห็น ป้าย ไวนิล จำนวนมากในชีวิตประจำวันตั้งแต่ออกจากบ้าน เช่น ป้ายไวนิลแบนเนอร์บนกันสาดหน้าร้านค้า, ป้ายไวนิลที่ติดตามเสาไฟฟ้าเพื่อโฆษณาระยะสั้น, ป้ายหาเสียง, ป้ายบิลบอร์ดขนาดใหญ่ตามตึกหรือทางด่วน, ป้ายธงญี่ปุ่น (J-Flag), ป้ายโลโก้, ป้ายโฆษณาติดรั้วบริษัท, ป้ายโฆษณารั้วโรงงาน, หรือป้ายหน้าโครงการก่อสร้าง ต่าง ๆ, ไปจนถึงป้ายกล่องไฟ (Lightbox) ตามร้านค้าหรือในห้างสรรพสินค้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในงานตกแต่งบูธแสดงสินค้าหรืองานโฆษณาชั่วคราว เพราะทุกที่สามารถใส่ป้ายโฆษณายี่ห้อสินค้าให้ผู้คนทั่วไปได้รู้จัก ป้ายไวนิลจึงเป็นที่นิยมอย่างมาก

ไวนิล (Vinyl) คืออะไร

ไวนิล คือพลาสติกชนิดพิเศษมีส่วนผสมระหว่างพลาสติกคุณภาพสูงรวมกับสารเพิ่มประสิทธิภาพต่างๆ เช่นสารเพิ่มความทนทานต่อแสงแดด สารเพิ่มความแข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทก สารเพิ่มความทนทานต่อสภาวะอากาศ และสารเพิ่มความทนทานความร้อน ไวนิลนอกจากจะทนทานต่อแสงแดดรังสียูวีและสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงแล้วยังเป็นวัสดุที่ไม่มีปัญหาเรื่องปลวกหรือแมลงกัดเจาะ การผุกร่อนหรือบิดงอ การเกิดสนิม การรั่วซึมของน้ำฝน ไม่ติดไฟ และยังช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานอีกด้วย จึงนิยมนำมาใช้ผลิตอุปกรณ์ใช้งานกลางแจ้ง


ประเภทของ ไวนิล สำหรับงานพิมพ์ป้ายโฆษณา 

ป้ายไวนิลนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไวนิลทึบแสงและไวนิลโปร่งแสง

ไวนิลทึบแสง คือ ไวนิลที่มีการเคลือบสารเคมีที่ด้านหลังเมื่อพิมพ์อิงค์เจ็ท แล้วส่องไฟจะมองไม่ทะลุ และยังแบ่งตามการใช้งานได้อีก 4 แบบ

    • แบบหลังขาว เหมาะกับงานพิมพ์อิงค์เจ็ททั่วไป
    • แบบหลังเทา/ดำ เหมาะกับงานที่เป็นป้ายแขวนที่ประกบ 2 หน้า จะช่วยลดการทับซ้อนของภาพเมื่อมีแสงแดดส่องผ่าน
    • แบบพิมพ์ได้ 2 หน้า ไวนิลประเภทนี้เหมาะกับเครื่องพิมพ์ UV Flatbed ซึ่งเป็นระบบเครื่องพิมพ์แบบแผ่น สามารถพิมพ์ได้ 2 หน้าได้อย่างแม่นยำ

ไวนิลโปร่งแสง (backlit) คือ ไวนิลที่มีการเคลือบสารเคมีที่ด้านหลังบางกว่าแบบทึบแสง ซึ่งแสงสามารถส่องทะลุได้ แบ่งเป็น 2 ประเภท

    • แบบโปร่งแสง คือไวนิลที่สามารถให้แสงผ่านได้ จึงนิยมใช้สำหรับทำกล่องไฟ ที่เราเห็นตามป้ายด้านนอกของร้านค้า เราสามารถ Inkjet โดยใช้ Profile Backlit เนื่องจากเราต้องส่องไฟจากด้านหลังจึงต้องใช้การพิมพ์ที่ให้หมึกหนาแน่นกว่าเป็นพิเศษ เพื่อเวลาส่องไฟแล้วสีไม่เพี้ยน ไวนิลโปร่งแสงสามารถนำมาใช้พิมพ์อิงค์เจ็ทลงไปตรง ๆ หรืออาจจะใช้เป็นเทคนิคติดสติ๊กเกอร์โปร่งแสงทับหน้าลงไปได้เช่นกัน แล้วแต่ลักษณะงานที่ต้องการ
    • แบบตาข่าย คือไวนิลที่สามารถลดแรงปะทะของลมได้ดีกว่าแบบโปร่งแสงทั่วไป สามารถใช้ขึงตามอาคารสูงได้หรือกล่องไฟที่อยู่บนอาคารสูง จะมีระยะห่างของตาข่ายแตกต่างกันไปสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม

สเปคของไวนิลที่ควรรู้และการเลือกใช้พิมพ์

ทางโรงงานผู้ผลิตแต่ละยี่ห้อจะมีสเปคของ ไวนิล แต่ละประเภท เราต้องเลือกใช้ให้เหมาะกับงานใช้งาน

  • Weight คือน้ำหนักต่อตารางเมตร จะมีหน่วยเป็นกรัม ตัวอย่างเช่น 360g/m2 หมายถึง ไวนิลมีน้ำหนัก 360 กรัมต่อตารางเมตร
  • Width คือหน้ากว้างของไวนิล จะเริ่มตั้งแต่ 0.92, 1.22, 1.32, 1.52, 1.82, 2.22, 2.52, 2.82, 3.20 m. ถ้าชิ้นงานกว้างกว่านี้จะต้องมีเชื่อมต่อชิ้นงานด้วยความประณีต มีทั้งเทคนิคกาวร้อน กาวเย็น เครื่องซีม (Seam) ไวนิลด้วยลมร้อน เป็นต้น
  • Base Material คือเมล็ดพลาสติกที่นำมาทำไวนิล โดยส่วนใหญ่จะทำจาก โพลิเอสเตอร์ (Polyester) ประกบหน้าหลัง โดยตรงกลางเป็นเส้นไยที่จับแผ่นเมล็ดพลาสติกไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดความแข็งแรงของวัสดุ
  • Surface คือประเภทของผิวหน้าไวนิล ส่วนใหญ่จะเป็น Glossy ที่นิยมที่สุด Matte มีความนิยมน้อยกว่า 


ราคางานพิมพ์ไวนิลเริ่มต้นกี่บาท

เนื่องจากงานพิมพ์ไวนิลมีหลากหลายแบบทำให้ราคาแตกต่างกัน ซึ่งป้ายไวนิลราคาเริ่มต้นกันที่ตรม.ละไม่เกิน 100 บาท ไปจนถึงหลักเกือบ 1,000 บาทต่อตารางเมตรนั้น มีปัจจัยมาจากเกรดของวัสดุไวนิลและระบบงานพิมพ์อิงค์เจ็ทที่ใช้ ลูกค้าต้องมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของตนเองว่าจะนำไปป้ายไวนิลติดตั้งตรงพื้นที่หน้างานบริเวณไหน อายุการใช้งานต้องการยาวนานเพียงไร เกรดต่ำสุดของไวนิลที่ขายถูก ๆ มักจะมีอายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือน เนื้อไวนิลและเส้นใยบางจะไม่ทนทานต่อสภาพอากาศ จะแตกกรอบฉีกขาดซีดเร็วและง่าย ในขณะที่ เกรดมาตรฐานคือ 12 เดือน เกรดพรีเมี่ยม 24 เดือน และไปได้ถึงเกรดสูงสุด 3-5 ปี ที่มีเนื้อหนาเหนียวเส้นใยทอถี่ละเอียดมาก ระบบงานพิมพ์ก็ต้องใช้หมึกพิมพ์ที่มีความทนทานเหมาะสมกับเกรดไวนิลที่นำมาใช้งานเช่นกัน


ก่อนจะจากกันไป สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นทำยังไง ทาง SGEPRINT ยินดีให้บริการนะคะ สามารถเข้ามาสอบถามพร้อมใช้บริการงานพิมพ์ไวนิลได้นะคะ เริ่มต้นเพียง 100 ตรม. สีคมชัด ติดทนนาน เนื้อวัสดุเหนียว ทนแสงแดด ทนฝน ได้คุณภาพ แถมจัดส่งฟรีทั่วประเทศด้วยนะคะ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ https://sgeprint.com/ป้ายไวนิล/


ขอบคุณข้อมูลจาก
Octopus / สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)