สำหรับปี 2021 คงไม่มีใครไม่ใช้ Cloud Storage เนื่องจากคนส่วนใหญ่เข้าใจเรื่องความปลอดภัย และ ประโยชน์ของมันมากขึ้น การเก็บไฟล์ แชร์ไฟล์ทำได้ง่ายได้มาก สามารถเข้าถึงไฟล์ได้ทุกที่บนโลกใบนี้ สามารถใช้ทั้ง Smart Phone หรือ Tabletในการเข้าถึง และไม่ต้องกลัวว่าไฟล์จะหาย สำหรับใครหลายคนอาจจะลังเลไม่กล้าใช้ เราจะพาไปรู้จักกันเลย

Cloud Storage คือ การนำข้อมูลไปเก็บไว้ในผู้ให้บริการที่มี Server ขนาดใหญ่หลายๆ เครื่อง ที่มีศักยภาพด้าน ซอร์ฟแวร์ และฮาร์ดแวร์ สามารถเรียกเทคโนโลยีเหล่านี้ว่า Cloud Computing ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าดูไฟล์ หรือ อัพโหลดไฟล์ เมื่อไหร่ก็ได้ โดยจะมีผู้ให้บริการ Cloud Storage เป็นผู้ดูแลระบบเองทั้งหมด ทั้งการ บำรุงรักษา ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์

โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องเข้าไปยุ่งเลย โดยปัจจุบันมีผู้ให้เก็บข้อมูลแบบคลาวน์ให้บริการอยู่หลายเจ้า เช่น Google Drive , OneDrive , Dropbox ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้ก็มีทั้งให้ปริการฟรี และเสียเงิน รวมถึงมีบริการออฟชั่นบางอย่างที่คุ้มค่ากว่าเวอร์ชั่นฟรีเสียอีก วันนี้ SGEPRINT จะพาไปรู้จักผู้ให้บริการ Cloud Storage ที่เป็นที่นิยมกันเลย

Cloud Storage เก็บไฟล์ออนไลน์ เจ้าไหนเวิร์กสุด ปี 2021

  • 1. Google Drive / Google One

    เป็นบริการ Storage จากค่าย Google ที่เพียงแค่บัญชี Gmail ก็สามารถใช้บริการได้ทันที โดยสามารถเชื่อม กับ บริการที่หลากหลาย Google ได้เช่น Google sheet , Google Doc และอีกมากมาย เมื่อทำงานเสร็จไฟล์เหล่านั้นก็จะเข้ามาอยู่ใน Google Drive ทันที โดยในแพลนฟรีให้พื้นที่มากถึง 15 GB แพ็กเกจฟรี และในปี 2021 ผู้ใช้งานเปลี่ยนมาเป็น Google One ได้แล้ว โดยมีแพ็คเกจต่างๆ ดังนี้

    Google-Drive Google-One Cloud-Storage

    แพ็กเกจฟรี
    Google One ให้พื้นที่ฟรีเริ่มต้นที่ 15GB กับผู้ที่มีบัญชี Google Account ทุกราย (ถือว่าสูงที่สุดในบรรดาผู้ให้บริการ Cloud ชั้นนำ)

    แพ็กเกจระดับเริ่มต้น

    พื้นที่ 100GB ราคา 70 บาท/เดือน (ราคารายปี 700 บาท) เฉลี่ย GB ละ 0.7 บาท
    พื้นที่ 200GB ราคา 99 บาท/เดือน (ราคารายปี 990 บาท) เฉลี่ย GB ละ 0.5 บาท

    แพ็กเกจระดับไซต์ใหญ่
    พื้นที่ 2TB ราคา 350 บาท/เดือน เฉลี่ย GB ละ 0.17 บาท
    มีแพ็กเกจขนาดใหญ่จัมโบ้คือ 10TB, 20TB, 30TB แต่ไม่ได้นำมาเปรียบเทียบ

  • 2. OneDrive

    เป็นผู้ให้บริการเก็บพื้นที่ฟรี และเสียเงิน จากค่าย Microsoft เรียกว่าความสามารถที่ให้มานั้นไม่ว่าจะด้านการซิงค์ข้อมูล การรองรับอุปกรณ์ต่าง เช่น PC , มือถือ , แท็บเล็ต ไม่ค่อยต่างจาก Google Drive เท่าไหร่นัก โดยในระดับแพ็คเกจฟรีฟรีนั้นจะให้พื้นที่มาค่อนข้างน้อย 5 GB

    One-Drive-Cloud-Storage

    แพ็กเกจระดับเริ่มต้น
    – พื้นที่ 100 GB ราคา 69 บาท/เดือน แต่ไม่รวมแอฟ Office ต่างๆ เช่น Outlook,
    Word ,Excel , PowerPoint

    แพ็กเกจระดับไซต์ใหญ่
    – พื้นที่ 1 TB ราคา 2,099.00 บาท /ปี สามารถใช้บริการแอฟต่างๆ ทั้งหมดของ ไมโครซอฟได้เช่น Outlook,Word ,Excel , PowerPoint , Skype
    – พื้นที่ 1 6 TB ราคา 2,899.00 /ปี สามารถมีผู้ใช้ได้ทั้งหมด 6 คน ใช้บริการแอฟต่างๆ ทั้งหมดของ ไมโครซอฟได้เช่น Outlook,Word ,Excel , PowerPoint , Skype
    สำหรับ one drive ยังมีบริการสำหรับ แพ็คเกจธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลแบบสูงสุดด้วย ดูรายละเอียดเพื่อได้ที่ One Drive

  • 3. Dropbox

    ถ้าพูดถึง Cloud Storage แล้วไม่พูดถึง Dropbox ไม่ได้เนื่องจากถือเป็นเจ้าแรกๆ ที่คนไทยคุ้นเคย ที่มีพื้นทีฟรีให้มาแค่ 2 GB แต่เราสามารถเพิ่มพื้นที่ให้ตัวเองโดยการชวนเพื่อนมาสมัครต่อ โดยได้พื้นที่สูงสุดถึง 16 GB โดยไม่ต้องเสียเงินเลย

    Dropbox

    โดยหากคุณใช้เก็บแค่ข้อมูลส่วนตัวเท่านั้น ไม่ได้ต้องการฟีเจอร์เทพๆ หรือแอปอื่นๆ เพิ่ม Dropbox ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งไม่แพ้เจ้าใหญ่ๆ ด้านบน เพราะฟังก์ชั่นรองรับบนอุปกรณ์ต่างๆ การซิงค์ข้อมูล การแชร์ไฟล์ต่างสามารถทำได้หมด

    Dropbox

    แพ็กเกจระดับเริ่มต้น
    – พื้นที่ 2 TB ราคา 9.9 เหรียญ/ เดือน
    – พื้นที่ 2 TB ราคา 9.9 เหรียญ/ เดือน แต่สามารถแบ่งใช้ให้กับครอบครัว หรือคนอื่นๆ ได้ 6 คน

    แพ็กเกจระดับไซต์ใหญ่
    – พื้นที่ 3 TB ราคา 16.58 เหรียญ/ เดือน ใช้ได้ 1 คน
    – พื้นที่ 5 TB ราคา 12.50 เหรียญ/ เดือน สามารถแบ่งใช้งานได้ 3+ คน

    สำหรับ Dropbox มีฟีเจอร์เด็ดคือการส่งคำขอแบบลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ , การกู้คืนข้อมูล , การทำลายน้ำเอกสาร

  • 4.Pcloud

    บริการจัดเก็บข้อมูลบน Cloud มีความปลอดภัยและใช้งานง่ายซึ่งให้พื้นที่เก็บข้อมูลฟรีถึง 10GB ถือเป็นบริการที่ยังใหม่สำหรับคนไทยอย่างเรา แต่ถือว่าค่อนข้างเริ่มเป็นที่นิยมในต่างประเทศ ที่น่าสนใจคือ Pcloud มีบริการแบบ Life Time คือจ่ายแค่ครั้งเดียวใช้งานได้ตลอด

    Pcloud

    แพ็กเกจเริ่มต้น
    – พื้นที่ 500 GB ราคา 47.88 เหรียญ/ ปี ราคาแบบจ่ายครั้งเดียว 175 เหรียญ
    – พื้นที่ 2 TB ราคา 95.88 เหรียญ/ ปี ราคาแบบจ่ายครั้งเดียว 350 เหรียญ

    แพ็กเกจระดับไซต์ใหญ่
    – พื้นที่ 2 TB ราคาแบบจ่ายครั้งเดียว 350 เหรียญ / สามารถแบ่งผู้ใช้ได้ถึง 5 คน
    จุดเด่น Pcloud คือ สร้าง Download link ตั้งรหัสผ่าน วันหมดอายุไฟล์ได้ , ความเร็วในการ Sync ข้อมูล ,มีแพลนราคาที่คุ้มค่ามากจ่ายเพียงแค่ครั้ง

  • 5. Koofr

    ถือเป็นบริการ Cloud Storage น้องใหม่ มาแรง ที่ถือว่าคุ้มค่ามาก โดยให้พื้นที่ฟรี 2 GB สามารถเชื่อม หรือส่งไฟล์หากันระหว่าง Google Drive,Dropbox , one drive และมีราคาถูกกว่าหลายเจ้า

    Koofr

    แพ็กเกจเริ่มต้น

    พื้นที่ 100 GB ราคา 2 €/เดือน , พื้นที่ 250 GB ราคา 4 €/เดือน

    แพ็กเกจระดับไซต์ใหญ่

    พื้นที่ 1 TB ราคา 10 €/เดือน , พื้นที่ 2.5 TB ราคา 20 €/เดือน , พื้นที่ 10 TB ราคา 60 €/เดือน

    จุดเด่น ตั้งค่า folder ที่ต้องการ sync ได้ ไม่ต้องใช้ drive C อย่างเดียว ทำให้บริหารจัดการพื้นที่ได้ , ตั้งเวลาแชร์ได้ว่าแชร์ให้ใครถึงเมื่อไหร่ แล้วหยุดแชร์ได้

    ในปัจจุบันมี cloud storage มากมายทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยมีฟีเจอร์ค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยเราอาจจะเลือกใช้ตามความเหมาะสม บางที่มีฟีเจอร์เยอะก็จริง แต่เราอาจจะไม่ได้ใช้งานทั้งหมด อาจจะต้องการแค่พื้นที่เก็บข้อมูลเฉยๆ อาจจะใช้แค่ Koofr หรือ Pcloud , Dropbox บางคนอาจจะต้องการใช้ฟีเจอร์ Office ก็อาจจะเลือก One Drive , Google One ก็เป็นอีก1 ทางเลือก