Burnout คืออะไร
Burnout คือ ภาวะหมดไฟ ในการทำงาน ที่องค์การอนามัยโลกได้ให้ความหมายไว้ว่า หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆว่า ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน
โดยเป็นปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์เรื้อรังต่องานที่แสดงอาการออกมาในรูปแบบอ่อนเพลียหรือรู้สึกไม่มีอารมณ์ที่จะตื่นไปทำงาน, เกิดภาวะ Cynicism (ขาดความรู้สึกสนุกในการทำงาน ขาดแรงจูงใจในงานที่ทำ เป็นต้น) ซึ่งภาวะหมดไฟในการทำงานนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์และร่างกายหลายอย่าง อาทิเช่น มีภาวะนอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เบื่อหน่าย ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นสาเหตุนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต อาทิ โรคซึมเศร้า วิตกกังวล ในท้ายที่สุด
Burnout ไม่ใช่โรค
Burn out ภาวะหมดไฟในการทำงาน ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดจากการทำงาน (Occupational Phenomenon) ซึ่งภาวะนี้ไม่ใช่ความผิดปกติใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานและไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งลักษณะอาการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
- รู้สึกสูญเสียพลังงาน หรือมีภาวะอ่อนเพลีย
- มีความรู้สึกต่อต้านและมองงานของตนเองในทางลบ ขาดความรู้สึกในความตั้งใจที่จะประสบความสำเร็จ (นั่นหมายถึงไม่มีแรงจูงใจที่จะประสบความสำเร็จในงาน) และ
- รู้สึกเหินห่างจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงาน หรือลูกค้า รวมถึงขาดความผูกพันกับสถานที่ทำงาน
หมดไฟในการทำงานไม่ใช่โรคซึมเศร้า
หลายคนมักเข้าใจผิดว่าภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burn out) เป็นอาการหนึ่งของโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจผิด
เพราะภาวะ Burn out ไม่ได้เป็นอาการของโรคซึมเศร้า แต่จะใช้เรียกเฉพาะอาการที่เกิดเนื่องจากการทำงาน เพียงอย่างเดียวไม่นับรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจที่เกิดจากเรื่องอื่น แต่ถ้าปล่อยไว้เรื้อรัง จะนำไปสู่ปัญหาทางอารมณ์และร่างกายหลายอย่าง อาทิเช่น มีภาวะนอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เบื่อหน่าย ซึ่งปฏิกิริยาดังกล่าวเป็นสาเหตุนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต อาทิ โรคซึมเศร้า วิตกกังวล ได้ในอนาคต
วิธีเช็คว่าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดไฟหรือไม่ หากรู้สึกว่างานของตนมีลักษณะดังต่อไปนี้
- รู้สึกว่างานหนัก งานเยอะ รวมถึงงานมีความซับซ้อน ต้องมาทำในเวลาเร่งรีบแบบไฟลนก้น
- ขาดอำนาจในการตัดสินใจ ไม่มีสิทธิ์มีเสียง และมีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน
- ไม่ได้รับการตอบแทน หรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจไป แต่กลับไม่มีใครเห็นค่า
- รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน ทำตัวแปลกแยก หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
- ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจมั่นใจ และการเปิดใจยอมรับกัน
- ระบบบริหารในที่ทำงานที่ขัดต่อคุณค่า และจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเอง
ผลกระทบจาก Burnout คือ
- ทางด้านร่างกาย: อาจพบอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง อารมณ์ดิ่ง รู้สึกเคว้งคว้าง หน้าหมองเหมือนโดนทำคุณไสย ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ อาจมีอาการ officesyndrome ร่วมด้วย
- ทางด้านจิตใจ บางรายอาจสูญเสียแรงจูงใจ หมด passion หมดหวัง รู้สึกหมดหนทางที่จะช่วยให้ดีขึ้น ส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้าและอาการนอนไม่หลับได้ หากอาการรุนแรงจะนำไปสู่โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง/ฝันร้าย อาจพบมีการใช้สารเสพติดเพื่อจัดการกับอารมณ์
- ผลต่อการทำงาน: อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด
วิธีแก้ภาวะหมดไฟจากการทำงาน Burnout
- พยายามนอนให้มากขึ้น (แต่ไม่ใช่ตอนที่ทำงาน)
- การนอนน้อยเกินไปจะทำให้ง่วง เป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำนายความเหนื่อยหน่ายและเป็นเหตุสนับสนุน ที่น่าจะทำให้งานประจำนั้นเป็นงานที่น่าเบื่อจนเหนื่อยหน่าย การนอนหลับที่ดีขึ้น เป็นสัญญาณสำคัญที่จะทำให้ร่างกายคนเราสามารถฟื้นตัวจากความเหนื่อยหน่ายและพร้อมที่จะกลับไปทำงาน
- ออกกำลังกายระดับที่หัวใจและหลอดเลือดสูบฉีด
- รู้อย่างไรว่าออกกำลังกายขนาดไหนถึงจะมีผลต่อหัวใจ ในปัจจุบันเป็นเรื่องง่ายมาก smartwatch ที่สามารถวัดการออกกำลังกายของเราในแต่วันได้ว่าถึงระดับออกกำลังหัวใจและหลอดเลือดหรือไม่ ซึ่งการออกกำลังกายในระดับการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดนั้น ได้รับการยืนยันจากผลการศึกษาวิจัยว่า สามารถดีขึ้นได้ในเวลาเพียง 4 สัปดาห์
- ทำสมาธิ
- การทำสมาธิแบบฝึกสติ เป็นเทคนิคที่ได้รับการยืนยันทางการแพทย์มายาวนาน ที่สามารถช่วยให้เรารับมือกับปัญหาได้ในทุกสถานการณ์ เพียงอย่างน้อย 10 นาที/วัน ก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายและจิตใจได้อย่างมีนัยสำคัญ
- ฝึกหายใจ (Breathing exercise)
- สามารถปฏิบัติร่วมกับข้อ4 ควบคู่กันไปได้เลย โดยการ หายใจเข้า – ออก 4 ครั้ง/เซ็ต
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่านทุกคนเข้าใจภาวะของคนที่หมดไฟในการทำงานมากขึ้น หรือถ้าหากเป็นตัวท่านเองผู้เขียนก็ขอให้ทุกท่านผ่านพ้นช่วงเวลาที่เลวร้ายเหล่านี้ไปได้โดยเร็ว ขอให้ทุกคนเจองานที่ใช่นะครับ