บริษัทในปัจจุบันเกิดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด บางบริษัททำท่าว่าจะดีก็ล้มไม่เป็นท่า บางส่วนกำลังแย่ก็กลับพลิกฟื้นขึ้นมาได้อย่างเหลือเชื่อ บริษัทที่อยู่รอด และสร้างกำไรล้วนแล้วแต่มีระบบบริหารที่ดี แต่ละแผนกล้วนมีการเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน มีการวางแผน และใช้ทรัพยากรต่างๆ ของบริษัทได้เกิดประโยชน์สูงสุดทุกจุด ระบบ ERP จึงเข้ามาตอบโจทย์ของธุรกิจในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ERP คือ ข้อมูลทุกอย่าง ไม่ว่าจะ การเงิน บัญชี บุคคล หรือแม้ กระทั่งคลังสินค้า ข้อมูลจะถูกเชื่อมโยงรวมอยู่บนพื้นที่เดียวกัน ผู้บริหาร หรือพนักงานที่เกี่ยวข้องสามารถเรียกใช้ข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว ไม่ต้องขอข้อมูลจากฝ่ายนั้นที ฝ่ายนี้ที กว่าจะทำงานได้

แล้ว ERP คือ อะไร? ERP ย่อมาจาก…

ระบบ-ERP-มี-อะไร-บ้าง

ERP คือ ย่อมาจาก คำว่า Enterprise Resource Planing คือการวางแผนบริหารจัดการองค์กรให้สามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ซอฟต์แวร์ ERP จะช่วยในการวางแผนจัดการห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การสรรหาวัตถุดิบ การผลิต การบริการ การเงิน ตลอดจนกระบวนการอื่นๆ ขององค์กร ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนและการจัดการฐานข้อมูล ระบบ ERP จะเป็นตัวเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น การผลิต , ระบบสินค้าคงคลัง , การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า CRM , งานด้านการขาย , งานด้านการซื้อ , งานด้านการบัญชีและการเงิน , งานบริหารทรัพยากรมนุษย์

ระบบ ERP มี อะไร บ้าง

หลายๆ ท่านคงเข้าใจระบบ ERP มาบ้างแล้ว ว่าต้องมีการเชื่อมโยงข้อมูลมากมายกับแผนกจ่างๆ โดยสามารถแบ่งฟังก์ชั่นหลักๆ ได้ถึง 6 และใน 6 แบบนั้นก็จะมีฟังก์ชั่นย่อยไปได้อีก โดยประกอบด้วย

  • ระบบบริหารทรัพยากรการผลิต(MRP)
  • ระบบการจัดซื้อ (Purchasing)
  • ระบบบริหารจัดการทรัพยากรการเงิน (FRM)
  • ระบบบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM)
  • ระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (SCM)
  • ระบบงานทรัพยากรบุคคล (Human Resource)
  • การขายและกระจายสินค้า (Sales and Distribution)
  • ระบบอื่นๆ ที่สามารถปรับแต่งเพื่อให้เข้ากับธุรกิจทุกรูปแบบ

โปรแกรม ERP ที่นิยมใช้งาน

ส่วนใหญ่โปรแกรม ERP ล้วนต้องให้ธุรกิจปรับให้เข้ากับตัวโปรแกรม หากต้องปรับเปลี่ยนโปรแกรมถือว่าเป็นเรื่องยากมากที่บริษัท ERP เหล่านี้จะยอมทำตาม เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก โดยตัวอย่าง โปรแกรม ERP ที่นิยมใช้งาน ได้แก่ Microsoft Dynamics AX , Oracle Application/Oracle, PeopleSoft, SAP, CONTROL, IFS Application, MFG/PRO, J.D. Edwards เป็นต้น

ประโยชน์ ERP คือ

ประโยชน์-ERP-คือ

เป็นที่ทราบดีว่า ประโยชน์ ERP เป็นระบบที่วางแผน และแบบบูรณการแบบทั้งระบบสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละฝ่ายให้รวดเร็วขึ้น ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มยอดขายและผลกำไร และที่สำคัญที่สุดข้อมูลจะช่วยให้ผู้บริหารหรือองค์กรตัดสินใจได้ดี และแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยประโยชน์ของ ERP มีดังนี้

ช่วยแก้ปัญหาสินค้าคงคลัง เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุดคลาสสิค สินค้าคงคลังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ หรือ มีสินค้า Overstock ซึ่งมีผลกระทบต่อต้นทุนการจัดเก็บ และต้นทุนผลิตสินค้าเป็นอย่างมาก ERP จะช่วย กำหนดรหัสสินค้า สถานะของสินค้า รอบการผลิตต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ และเมื่อมีการจำหน่ายออก หรือตัดยอดสินค้าคงคลัง แผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็จะสามารถรับทราบการเปลี่ยนแปลงทันที โอกาสผิดพลาดเช่น ตัก Stock ผิด การขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ก็จะน้อยลง ซึ่งทำให้ต้นทุนที่อาจจะเกิดขึ้นกับ ต้นทุนสินค้าคงคลังก็จะลดลงด้วย

วางแผนและควบคุมการผลิต สามารถสร้างมาตรฐานขึ้น และเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศในการวางแผนและควบคุมการผลิต ทำให้ประหยัดเวลาในการดำเนินการ และสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี

ช่วยให้กิจกรรมต่างๆ ของบริษัทเร็วขึ้น การทำธุรกรรมและกระบวนการทำงานขององค์กรเป็นไปอย่างอัตโนมัติ เน้นความถูกต้อง และรวดเร็ว

ลดความซ้ำซ้อน ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการเก็บข้อมูล เนื่องจากนำข้อมูลเข้าระบบเพียงครั้งเดียว ทำให้ข้อมูลมีความเป็นมาตรฐาน และถูกต้องตรงกันทั่วทั้งองค์กร

เชื่อมโยงข้อมูลในองค์กรอย่างรวดเร็ว บริษัทที่มีหลายหน่วยธุรกิจ ซึ่งระบบ ERP จะสามารถลดปัญหาการสื่อสาร การเชื่อมโยงข้อมูล การวางแผนร่วมกันระหว่างแผนกต่าง ๆ เช่น แผนกขาย ฝ่ายผลิต คลังสินค้า และแผนกจัดซื้อ ทำให้การจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน (Logistics and Supply Chain Management) มีความสอดคล้องประสานกัน ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกันทั้งองค์กร สามารถลดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามกำหนดเวลาและสามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง & ตัดสินใจได้แม่นยำ ซอฟต์แวร์ ERP ช่วยให้ผู้บริหารรับข้อมูลที่สมบูรณ์แบบในทุกด้านของการดำเนินธุรกิจ เช่นประสิทธิภาพการขายลูกค้ากำไรและขาดทุนหุ้นการเงินการเงินแรงงานและอื่น ๆ อีกมากมาย ข้อมูลทั้งหมดที่สร้างขึ้นนั้นมีประโยชน์อย่างแน่นอนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประมาณการที่แม่นยำและการคาดการณ์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาดและรวดเร็วขึ้น

ข้อเสียของ ERP

ข้อดี-ข้อเสีย-ERP

เป็นที่ทราบกันดีว่า ข้อเสียของ ERP คือมีค่าใช้จ่ายของโปรแกรมที่สูง 💰 แต่ไม่ได้มีภาระแค่ค่าใช้จ่ายที่ต้องเจอยังต้องเรียนรู้การใช้ซอฟแวร์ที่อาจจะค่อนข้างซับซ้อนในการใช้ตอนแรกๆ อีกด้วย และเนื่องด้วยตัวโปรแกรมมีความเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายในบริษัท การ Implement อาจกินเวลานานไปถึง 1-2 ปี ดังนั้นต้องทำความเข้าใจกับพนักงาน และอาจจะต้องทำงานคู่ขนาดระหว่างระบบเก่า กับ ระบบใหม่ หากมีพนักงานลาออกช่วงรอยต่อนี้ก็อาจจะเกิดปัญหางานไม่ต่อเนื่อง โดยระบบ ERP คือ ระบบที่ค่อนข้างใหญ่ ไม่ใช่นึกจะเปลี่ยน ก็เปลี่ยนได้ทันที ต้องมีการวางแผนไว้หลายๆ ด้าน 💪 แต่หากระบบสำเร็จย่อมมีข้อดีมากกว่าหลายเท่าของข้อเสียแน่นอน

บริษัทที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบ ERP นั้น ไม่ใช่แค่เป็นบริษัทใหญ่เท่านั้น แต่ตัวบริษัทตั้งแต่ผู้บริหาร จนถึงพนักงานต้องอยู่ในสถานะที่พร้อมจะปรับตัว และเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้ เนื่องจาก ERP เป็นระบบที่ต้องอาศัยการบูรณาการร่วมมือกันทั้งองค์กร ยิ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงนี้ยิ่งใช้เวลานาน และจะไม่ประสบณ์ผลสำเร็จหากไม่ได้การร่วมมือจากพนักงานทุกคน

🖱 สามารถเลือกดูบทความ “ธุรกิจ” ได้อีกมากมายที่ …
การหา จุดคุ้มทุน – กำไร ที่ธุรกิจออนไลน์ต้องรู้
5 เทคนิค ปิดการขาย ที่ธุรกิจควรรู้
แนะนำ 5 ธุรกิจออนไลน์ มาแรงปี 2021 เด็ดๆ ที่น่าสนใจ