Google Analytics 4 คือ อะไร ดีกว่าเดิมอย่างไร SGEPRINT มีคำตอบ พร้อมพาคุณไปดู วิธีติดตั้งบนเว็บไซต์ ใครอยากรู้จัก GA4 มีอะไรใหม่บ้าง เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์ ทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตมากขึ้นแล้วละก็ ตามมาดูกันเลย
สารบัญ
Google Analytics 4 คือ
Google Analytics 4 คือ เครื่องมือของ Google ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล User ที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ของเรา ทำให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนเว็บไซต์ของเราให้น่าใช้งานขึ้น ตลอดจนพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด
โดย GA4 ถือเป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดของ Google Analytics ซึ่งจะอัปเดตเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้น ทั้งในด้านการรวบรวมข้อมูล การควบคุมความปลอดภัย และ ผสานรวมกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพื่อให้มีความต่อเนื่อง สามารถเพิ่มผู้เข้าชมบนเว็บไซต์ของเรามากขึ้น ซึ่งจะเริ่มต้นใช้งาน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2023 เป็นต้นไป
GA4 ดีกว่าเดิมอย่างไร
1. เข้าใจ Customer Journey มากขึ้น
เพราะลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชม หรือ สั่งซื้อสินค้า ของธุรกิจเราได้ จากหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ โซเชี่ยลมีเดีย หรือ แอปพลิเคชั่น ทำให้หากนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหา Customer Journey หรือ เส้นทางของผู้บริโภค ที่เข้ามาสัมผัสหรือรู้จักกับธุรกิจของคุณ ตั้งแต่เยี่ยมชม ไปจนถึงการสั่งซื้อ โดยใช้ Google Analytics เวอร์ชั่นเก่า ก็อาจไม่สามารถเห็นภาพรวมในส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากเว็บไซต์ได้
ใน GA4 จึงได้อัปเกรด ให้มีความสามารถในการรวบรวม Customer Journey จากเว็บไซต์และแอปเข้าด้วยกัน เพื่อทำให้เห็นภาพรวมว่า ลูกค้าแต่ละคน เข้ามาจากช่องทางไหนบ้าง คลิกดูส่วนใด ถึงนำไปสู่การสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจลูกค้ามากขึ้น จนสามารถพัฒนากลยุทธ์ในการทำการตลาด ได้เฉพาะกลุ่มมากขึ้น สร้างยอดขายในแต่ละช่องทางได้ดีขึ้น แทนที่จะเน้นตรงส่วนใดส่วนหนึ่งเพียงอย่างเดียว
2. ได้รับข้อมูลแบบ Real Time มากขึ้น
เมื่อ GA4 รวบรวม Customer Journey จากเว็บไซต์และแอปเข้าด้วยกัน ผลพลอยได้ก็คือ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดึงข้อมูลแต่ละส่วน ออกมาวิเคราะห์ได้ทันที แบบ Real Time สามารถวางแผนพัฒนา หรือ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์มากยิ่งขึ้น แตกต่างจากการใช้ Google Analytics เวอร์ชั่นเก่า ที่ต้องรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ และ แอปพลิเคชั่น ทีละอัน แล้วใช้ Machine Learning มาช่วยในการวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อสรุป
3. เก็บข้อมูลพฤติกรรมเชิงลึกได้มากขึ้น
การเก็บข้อมูลพฤติกรรมเชิงลึกได้มากขึ้น ของ Google Analytics 4 เช่น ข้อมูลการคลิกวิดีโอ การดาวน์โหลดไฟล์ ฯลฯ ทำให้แบรนด์ หรือ เจ้าของธุรกิจ สามารถคาดการณ์ หรือ ทำนายพฤติกรรมของลูกค้าได้ว่า ควรจัดแคมเปญแบบไหน ทำสื่อโฆษณาแบบใด ถึงจะมีผู้เข้าชม หรือ สั่งซื้อบ้าง เช่น เมื่อแบรนด์ออกแคมเปญโฆษณา ใหม่ แล้วยิงไปในช่องทางต่าง ๆ หากมีข้อมูลออกมาว่า มีคนกด skip โฆษณาจำนวนมาก ก็อาจจะรู้แล้วว่า โฆษณานี้ไม่เวิร์ก ก็อาจส่งโฆษณาเวอร์ชั่นที่ 2 ไปแทน โดยไม่ยิงโฆษณาตัวเดิม กลับไปที่คนกลุ่มนี้อีก เป็นต้น
4. วัดผลได้แม่นยำขึ้น
แม้กฎหมาย PDPA จะไม่อนุญาตให้เราจัดเก็บข้อมูลลูกค้า จากการปล่อยแคมเปญโฆษณาในแต่ละครั้งได้แล้ว จากความเข้มงวดในด้าน Data Privacy แต่ด้วยฟีเจอร์ Consent Mode ของ Google Analytics 4 จะทำให้เราสามารถกลับมาจัดเก็บข้อมูลลูกค้าได้อีกครั้ง ในรูปแบบ Aggregate Level ซึ่งเป็นข้อมูลที่จะไม่ระบุตัวตนของลูกค้าคนนั้น ๆ ทำให้แม้ลูกค้าไม่กดยินยอมให้ข้อมูล ทางแบรนด์ก็ยังสามารถจัดเก็บข้อมูลได้ ช่วยให้วัดผลได้แม่นยำยิ่งขึ้น
Google Analytics มีอะไรใหม่บ้าง
1. Report snapshot
บอกภาพรวมต่าง ๆ ของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนผู้ใช้งานในแต่ละวัน จำนวนผู้ใช้งานใหม่ การ Engagement ของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ ตลอดจน มีผู้เข้าชมเว็บไซต์ จากช่องทางไหนมากที่สุดบ้าง โดยหากเราต้องการดูข้อมูลเชิงลึกแบบ Real Time ก็สามารถคลิกปุ่ม View Realtime ด้านล่างได้
นอกจากนี้ ยังมีรายงาน Insight ที่ Google นั้นได้สรุปมาให้เราเข้าใจง่ายๆ ว่าในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ผลลัพธ์ของเว็บไซต์เป็นอย่างไรบ้าง ทำให้สามารถประเมิน Performance เพื่อใช้ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ต่อไป
2. Real Time
รายงานที่แสดงจำนวนผู้ใช้งาน และ พฤติกรรมต่าง ๆ ของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ในขณะนั้น ทำให้รู้ได้ว่า ณ เวลานี้ มีผู้ใช้งานเว็บไซต์อยู่กี่คน เข้าใช้งานจากสถานที่ไหน มาจากช่องทางไหนบ้าง มีประโยชน์มาก ๆ หากใช้ติดตามและวัดผล หลังจากที่ปล่อยแคมเปญการตลาดออกไป ไม่ว่าจะเป็น โฆษณา หรือ โปรโมชั่นต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่
Life Cycle – เป็นส่วนที่บอกพฤติกรรมการใช้งานต่าง ๆ ของผู้ใช้งานเว็บไซต์
User – ส่วนที่บอกข้อมูลพื้นฐานของคนที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเรา
3. Acquisition
ช่วยให้รายละเอียดเชิงลึกว่า User เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเรา จากช่องทางไหนบ้าง แต่ละช่องทางมีคนเข้ามาใช้งานจำนวนเท่าไหร่ ทำให้วัดผลได้ว่า การทำการตลาดแต่ละช่องทาง อันไหนเติบโต หรือ ไม่เติบโตบ้าง ช่องทางไหนเวิร์ก หรือ เป็นช่องทางการตลาด ที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรามากที่สุด
ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ของเรามีการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าแรกมากขึ้น และ เพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ เราก็สามารถเข้ามาเช็คได้ว่า Organic มีการเติบโตมากขึ้นมั้ย หลังจากที่เราทำ SEO
4. Engagement
เป็นรายงานที่บอกภาพรวมเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้งานในเว็บไซต์ เช่น หน้าเพจไหนมีคนเข้าใช้งานมากที่สุด ระยะเวลาที่ User เข้ามาใช้งานเว็บไซต์ การคลิก Event และ Conversion ต่าง ๆ โดย GA4 จะไม่มี Bounce Rate (อัตราการออกจากเว็บไซต์) เหมือนกับ Google Analytics เวอร์ชั่นเก่า แต่จะเปลี่ยนเป็น Engagement Rate (อัตราการมีส่วนร่วม) แทน เพื่อให้แบรนด์รู้ว่า ควรปรับปรุง หรือ สร้างคอนเทนท์ ในแต่ละหน้าของเว็บไซต์ ให้ดีขึ้นได้อย่างไร เช่น ระยะเวลาเฉลี่ยที่คนมีส่วนร่วมในหน้าเพจ และ จำนวนผู้ใช้งานที่เลื่อนดูเนื้อหาในหน้าเพจ เป็นต้น
5. Monetization
ในส่วนนี้ จะเป็นการบอกรายได้ที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์ เช่น มีคนสั่งซื้อสินค้าเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ รายได้แต่ละวัน/เดือนรวมเท่าไหร่ เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีระบบ E-Commerce และ บริการต่างๆ ที่มีการชำระเงินบนหน้าเว็บไซต์
6. Retention
ให้ข้อมูลว่า มีลูกค้า หรือ คนที่เคยใช้งานเว็บไซต์ กลับเข้ามาใช้งานเว็บไซต์ของเรากี่คน หากเรามีค่า Returning Visitor ที่เพิ่มขึ้น ก็หมายความว่า เว็บไซต์มีความน่าใช้งาน คอนเทนท์มีคุณภาพ ตลอดจนมีลูกค้าเก่า ที่ยังคงมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์อยู่ แต่ถ้าหากจำนวนลดลง ก็อาจหมายถึงว่า เว็บไซต์ของเราอาจน่าใช้งานน้อยลง คุณภาพของคอนเทนท์ หรือ จำนวนลูกค้า อาจลดน้อยลงได้เช่นเดียวกัน
7. Demographic
ข้อมูลพื้นฐานของผู้ใช้เว็บไซต์ เช่น เพศ ชาย, หญิง มีกี่คน ส่วนใหญ่อายุเท่าไหร่บ้าง เข้าใช้งานเว็บไซต์จากจังหวัด หรือ ประเทศไหนมากที่สุด ทำให้เราสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ทำการตลาด ทำโฆษณาได้ตรงกลุ่มมากยิ่ง เช่น หากผู้ใช้งานคือ เพศหญิง อายุระหว่าง 24 – 35 ปี เข้าเว็บไซต์จากกรุงเทพและนนทบุรีมากที่สุด ก็อาจทำโฆษณา โดยตั้งไปที่กลุ่มนี้โดยเฉพาะ เป็นต้น
8. Tech
ให้ข้อมูลว่า User ของเรา ใช้อุปกรณ์ไหนเข้าเว็บไซต์ของเรามากที่สุด ทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของเว็บไซต์ให้เข้ากับอุปกรณ์นั้น ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น ใช้ PC หรือ Mobile ใช้ Browser เป็น Google Chrome หรือ Firefox เป็นต้น
Google Analytics 4 ติดตั้ง อย่างไร
สำหรับการเริ่มต้นใช้งาน หรือ ติดตั้ง Google Analytics 4 ทำได้ไม่ยาก โดยมีอยู่ 3 ตัวเลือกด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่า คุณเคยใช้เป็นครั้งแรก เป็นเว็บไซต์ที่ใช้งานควบคู่กับ Universal Analytics อยู่ก่อนแล้ว หรือ เป็นเว็บไซต์ ที่ใช้ Host ในระบบ CMS
ตัวเลือกที่ 1: ตั้งค่าการรวบรวมข้อมูล Analytics เป็นครั้งแรก
เลือกตัวเลือกนี้ หากเพิ่งเคยใช้ Analytics เป็นครั้งแรก เพื่อทำการรวบรวมข้อมูลของเว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชั่นของคุณ
ตัวเลือกที่ 2: เพิ่ม Google Analytics 4 ลงในเว็บไซต์ที่มี Universal Analytics (Analytics แบบ “คลาสสิก”)
ทำการเพิ่มพร็อพเพอร์ตี้ Google Analytics 4 ควบคู่ไปกับพร็อพเพอร์ตี้ Universal Analytics ที่มีอยู่ในเว็บไซต์ สามารถเข้าถึงพร็อพเพอร์ตี้ทั้งคู่ได้ โดยใช้
ตัวเลือกพร็อพเพอร์ตี้ ในพื้นที่ผู้ดูแลระบบ
ตัวเลือกที่ 3: เพิ่ม Google Analytics 4 ในแพลตฟอร์มเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ หรือ CMS (ระบบจัดการเนื้อหา)
เลือกตัวเลือกนี้ หากใช้เว็บไซต์ ที่โฮสต์ด้วย CMS (ระบบจัดการเนื้อหา) เช่น เว็บไซต์ที่สร้างโดยใช้ Wix, WordPress, Drupal, Squarespace, GoDaddy, WooCommerce, Shopify, Magento, Awesome Motive, HubSpot ฯลฯ
รู้จัก Google Analytics 4 กันแล้ว หากใครอยากได้เครื่องมือของ Google ที่จะช่วยจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ ตลอดจน โซเชี่ยลมีเดีย และ แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ พร้อมให้คุณนำมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดให้ดียิ่งขึ้นแล้วละก็ ไปติดตั้ง GA4 ตอนนี้กันได้เลย รับรองว่า จะช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวหน้า และ สร้างรายได้มากกว่าเดิม ได้อย่างแน่นอน
บทความที่น่าสนใจ
- Google Analytics คือ ? ทําไมเจ้าของธุรกิจออนไลน์ควรเลือกใช้
- รู้จัก google adwords คือ อะไร ทำไมควรใช้ทำการตลาดออนไลน์ 2023
- Google Trend คือ ? สำคัญต่อ Marketing ยังไง พร้อมวิธีใช้งานเบื้องต้น
- Google My Business คืออะไร พร้อมเทคนิคการทำ SEO เบื้องต้น – SGEPRINT
- รู้จัก Google Data Studio เสก Report ได้ในไม่กี่คลิก