Marketplace คือ อะไร ทำไมเดี๋ยวนี้คนไปขายสินค้ากัน บนแพลตฟอร์มนี้มากขึ้น นั่นอาจเป็นเพราะคนทำธุรกิจหรือค้าขายทุกวันนี้ การจะขายตามตลาดนัดหรือเช่าแผงเพื่อค้าขาย อาจจะไม่ตอบโจทย์มากนัก เพราะลูกค้าต้องการความสะดวกสบาย และ หลีกเลี่ยงเชื้อโรคโควิดที่ยังแพร่ระบาดอยู่ การซื้อของออนไลน์ จึงกลายเป็นช่องทางหลักที่ผู้คนทำการซื้อขายกันอยู่ในปัจจุบัน
ในเมื่อจะเริ่มต้นค้าขายบนโลกออนไลน์ ก็ควรรู้จักว่า Marketplace คืออะไร SGEPRINT จึงจะพาคุณมาหาความหมายของ พร้อมแนะนำช่องทางต่าง ๆ ของมาร์เก็ตเพลส เพื่อเพิ่มยอดขายบนโลกออนไลน์สารบัญ
Marketplace คือ อะไร
Marketplace คือ ตลาด อันเป็นสถานที่ ที่ผู้ซื้อ – ผู้ขายมาพบปะกัน เพื่อซื้อขายสินค้าและบริการ โดยมีทั้งรูปแบบออฟไลน์ คือ ตลาดนัด ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และแบบออนไลน์ คือ แพลตฟอร์มในรูปแบบแอปพลิเคชั่น หรือ เว็บไซต์ ซึ่ง Marketplace บนโลกออนไลน์นั้น เรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า E-Marketplace
โดยความแตกต่างของตลาด 2 ทั้งรูปแบบนั้น อยู่ที่เวลาเปิด – ปิด และลักษณะการค้าขาย โดยตลาดออฟไลน์ นั้นจะมีเวลาเปิด – ปิด ที่แน่นอน และผู้ขายต้องมาเปิดร้าน – ปิดร้าน ถึงจะทำการค้าขายได้ แตกต่างกับรูปแบบของตลาดออนไลน์ที่สามารถเปิดได้ 24 ชั่วโมง และซื้อขายได้ทุกเวลา เนื่องจากข้อมูลสินค้า การโอนเงิน จ่ายเงินต่าง ๆ สามารถดูและเลือกซื้อสินค้าได้ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งหมด
โดยปัจจุบัน มูลค่าของ E-Marketplace หรือการค้าขายออนไลน์นั้น จากการคาดการณ์โดยบริษัทไพรซ์ซ่าคาดว่า ในปี 2563 ที่ผ่านมา มีมูลค่าสูงถึง 2.2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% จากปี 2562 โดยถึงแม้ยอดขายผ่านออนไลน์ ยังมีสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับยอดขายผ่านหน้าร้าน ที่มีภาพรวมของมูลค่าอุตสาหกรรมค้าปลีกอยู่ที่ 2.2 ล้านล้านบาท เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ที่ทำให้กำลังซื้อลดลงและผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยแนวโน้มของยุคสมัยที่อินเตอร์เน็ตกำลังเข้ามามีอิทธิพลกับชีวิตของมนุษย์ทุกคน ทำให้การซื้อขายบน E-Marketplace ยังคงเติบโตและมีแต่จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
Marketplace บนโลกออนไลน์มีอะไรบ้าง
Marketplace บนโลกออนไลน์ มีหลายแพลตฟอร์ม ทั้งที่เป็นในรูปแบบของเว็บไซต์ และฟังก์ชั่นหนึ่งในแอปพลิเคชั่นโซเชี่ยลมีเดีย ซึ่งที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมในประเทศไทย ได้แก่
1. Lazada
ถือเป็นแพลตฟอร์ม Marketplace ออนไลน์ เจ้าแรก ๆ ที่เข้ามาตีตลาดในไทย ถูกก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งด้วยการมุ่งมั่นที่จะเป็นจุดหมายปลายทาง ให้มีทุกสิ่งที่ใจค้นหา ตามสโลแกนล่าสุด โดยการเชื่อมต่อกับคลังสินค้าหลายล้านรายการ ไม่ว่าจะในประเทศจีนหรือในประเทศไทย พร้อมกับการพัฒนาศักยภาพผู้ขายไปแบบควบคู่กัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแคมเปญส่งเสริมการขาย ให้ร้านค้าเข้าร่วมบ่อย ๆ หรือ การตั้ง Lazada University สำหรับสอนขั้นตอนการค้าขายบนลาซาด้า ตั้งแต่การตั้งชื่อสินค้า ตกแต่งร้าน จัดส่งสินค้า การสร้างแคมเปญร้านค้า ฯลฯ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน ก็สามารถเริ่มต้นค้าขายออนไลน์ได้
นอกจากนี้ Lazada ยังจะมีการนำเทคโนโลยีของอาลีบาบา กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ เข้ามาปรับใช้ในประเทศไทยด้วย ทำให้ผู้ค้าสามารถเข้าถึง Marketing Insight และ Data Solutions ช่วยให้วิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้บริโภคแบบเรียลไทม์ เพื่อการสร้างยอดขายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงถือว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะสำหรับคนอยากจะเริ่มต้นค้าขายและประสบความสำเร็จบนโลกออนไลน์อย่างแท้จริง
2. Shopee
อีกหนึ่งแพลตฟอร์มยอดนิยมของคนไทย ที่สามารถเบียดแย่ง ลาซาด้า ในการเป็นอันดับ 1 ของเจ้าตลาด E-Commerce ได้อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งในช่วงแรก แม้จะตกเป็นรองอยู่เยอะ แต่ด้วยกลยุทธ์ที่เน้นการพัฒนาให้แอปพลิเคชั่นสามารถใช้งานบนสมาร์ทโฟนได้ดี ทำให้การใช้งานให้เหมาะกับคนในแต่ละประเทศ อย่างการเพิ่มปุ่มกดไลก์ ไปจนถึงการตลาดที่เข้าถึงผู้คนส่วนใหญ่ได้ อย่างการจ้างพรีเซนเตอร์ระดับชั้นนำขอประเทศรวมถึงซูเปอร์สตาร์ระดับโลก ทำให้ยอดผู้ใช้งาน Shopee ในไตรมาส 2/2563 มีตัวเลขสูงถึง 47.2 ล้านราย/เดือน มากกว่า ลาซาด้า ที่มีผู้ใช้งาน 35.2 ล้านราย/เดือน การเริ่มต้นค้าขายบนแพลตฟอร์ม Shopee ก็ถือว่ามาแรง เหมาะกับผู้ที่อยากจะเริ่มต้นค้าขายออนไลน์เหมือนกัน
สำหรับผู้ค้า การใช้งานก็ใช้งานได้ไม่ยาก มีแคมเปญสนับสนุนการขาย และมี Shopee University ให้ได้เรียนรู้เหมือนกัน โดยเริ่มแรก จะต้องเข้าไปสมัคร กรอกรายละเอียดให้เรียบร้อยก่อน จากนั้น จะมีเจ้าหน้าที่โทรมา คอยแนะนำและช่วยเหลือการเปิดร้านค้าด้วยในช่วงแรก โดยคุณจะต้องลงสินค้าอย่างน้อย 3 รายการ แล้วเจ้าหน้าที่จะดำเนินการอนุมัติให้ ถือว่าสะดวกสุด ๆ แต่ก็ต้องรออย่างน้อย 3-5 วันนะ แล้วเมื่อเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับมา ร้านคุณถึงจะเริ่มทำการค้าขายได้
3. Facebook Marketplace
Facebook ที่เราเอาไว้เล่นโซเชี่ยลกันทุกวัน จริง ๆ แล้ว สามารถขายของได้ด้วยนะ แต่ไม่ใช่การโพสบนหน้าโปรไฟล์ของเรา หรือไปโพสตามกลุ่ม แต่ตรงแถบเครื่องมือที่เป็นสามขีดแนวนอน จะมีฟังก์ชั่นที่เรียกว่า Marketplace ปรากฏอยู่ ซึ่งเมื่อกดเข้าไป เราก็จะสามารถโพสสินค้า ขายของได้ทันที โดยการอัปโหลดรูป กรอกรายละเอียดสินค้า เลือกหมวดหมู่ เลือกจังหวัด แล้วกดโพสได้ทันที ซึ่งในนั้น ก็จะสามารถเลือกได้อีกว่า จะกดโพสลงบน Marketplace ของเฟสบุคอย่างเดียว หรือ โพสตามกลุ่มที่เราเป็นสมาชิกด้วย ซึ่งการโพสลงบน Marketplace นั้น คนที่เล่นเฟสบุค จะเห็นรายการสินค้าของเราทั้งหมด ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเพื่อนในเฟสบุคของเราถึงจะเห็น ทำให้โอกาสเปิดกว้างมาก ๆ สำหรับการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มนี้ แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง ตรงที่ด้วยคนขายก็มีมากเช่นเดียวกัน ทำให้รายการของเราอาจถูกลดการมองเห็นได้ง่าย จึงต้องคอยลบแล้วก็อัปใหม่ เพื่อให้ถูกมองเห็นได้อยู่บ่อย ๆ และต้องคอยโต้ตอบกับลูกค้า เพื่อชักชวนให้สั่งซื้อ ต่างจากรูปแบบของ Lazda และ Shopee ที่คำสั่งซื้อจะเข้ามาในระบบทันที
เริ่มต้นบน Marketplace ไหนดี
แพลตฟอร์ม Marketplace ออนไลน์ส่วนใหญ่ เริ่มต้นค้าขายได้ฟรีทั้งหมด ไม่เสียค่าธรรมเนียมการสมัคร จึงเหมาะกับผู้ขายที่ไม่ต้องการลงทุน หรือไม่มีเงินเริ่มต้นทำธุรกิจ ซึ่งด้วยวิธีการค้าขายที่สามารถ Drop Off ได้ คือ เมื่อได้รับออร์เดอร์สินค้า ค่อยสั่งสินค้าจากร้านอื่นมาส่ง ทำให้คุณไม่ต้องมีเงินหรือลงทุนสักบาทเดียวก็สามารถสร้างผลกำไรบนมาร์เก็ตเพลสได้แล้ว ต่างจากรูปแบบออฟไลน์ หรือ ค้าปลีก ธรรมดา ที่นอกจากจะต้องมีสินค้ามาตั้งโชว์ ถึงจะขายได้ ยังต้องเช่าแผง เช่าล็อก เสียค่าเช่ารายเดือน รายปีจำนวนมากอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ใน Lazada Shopee ด้วยการแข่งขันที่สูง และ แพลตฟอร์มก็คิดค่าธรรมเนียมจากการส่งสินค้า ทำให้การตั้งราคาขายเพื่อหวังทำกำไรจากการขายสินค้าชิ้นเดียว ไม่สามารถทำได้ง่ายนัก คุณจึงต้องมีกลยุทธ์ในการขายสินค้า โดยต้องรู้จักขายสินค้าในราคา 3 ระดับ คือ ราคาระดับต่ำ กลาง และสูง โดยใช้สินค้าราคาต่ำ เป็นตัวล่อ เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาเห็นร้านเรา จากนั้น จึงใช้สินค้าราคากลาง เพื่อแข่งขัน และหาสินค้าราคาสูงมาขาย เพื่อสร้างยอดขาย เท่านี้ ก็จะสามารถสร้างกำไรได้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังต้องแต่งรูปสินค้าให้น่าสนใจ คอยเข้าร่วมแคมเปญอยู่เสมอ และเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นโดยเร็วตามที่แพลตฟอร์มกำหนด เพื่อให้สามารถขึ้นเป็นร้านค้าแนะนำ อันจะทำให้ลูกค้าเข้าถึงและสั่งซื้อร้านค้าคุณได้ง่ายขึ้น
สำหรับ Facebook Marketplace นั้น จะแตกต่างกันออกไป ลูกค้าส่วนใหญ่ในแพลตฟอร์มนี้จะชอบรูปสินค้าจริง เมื่อจะอัปโหลดรูป จึงควรหาสินค้าจริงมาลง สำหรับในเรื่องราคานั้น อาจตั้งขึ้นตามความพึงพอใจได้ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรสูงจนเกินไป ควรตรวจสอบคู่แข่งด้วย ว่าขายกันอยู่ที่ราคาเท่าไหร่ และเพื่อให้ครอบคลุมผู้ใช้ Facebook ทั่วประเทศ คุณอาจจะโพสสินค้าชิ้นเดียวทีละจังหวัด โดยหากขายสินค้าชนิดเดียวกัน ให้เลือกใช้รูปที่แตกต่างกัน 77 รูปในการลง แล้วเลือกจังหวัดไม่ซ้ำกันจนครบทั้งประเทศ ก็จะเพิ่มยอดขายในการขายสินค้าของคุณได้มากขึ้น