Project Description
รีวิว สติ๊กเกอร์ฉลากสินค้า ผงบลูเบอร์รี่ ด็อกเตอร์อั้ม
วันนี้จะมาพาดูขั้นตอนการผลิตฉลากสินค้า ผงบลูเบอร์รี่ ด็อกเตอร์อั้ม……ว่า กว่าจะได้ฉลากสินค้าแต่ละอันนั้น ต้องผ่านขั้นตอนอะไรมาบ้าง?
1. ออกแบบฉลาก
โดยเริ่มวัดขนาด ฉลาก (กว้าง x ยาว) จากบรรจุภัณฑ์จริง โดยอาจจะออกแบบเอง หรือ ใช้บริการ กราฟฟริก ดีไซเนอร์ก็ได้
เมื่อออกแบบเสร็จ ก็จะนำ ไฟล์ฉลาก มาทำเส้นตัด (เส้นไดคัท) ตามรูปทรงที่เราต้องการ
***ตรงนี้สำคัญมาก คือ การไดคัท จะมีการคลาดเคลื่อน จึงต้องออกแบบเผื่อ ไว้ด้วย ว่า อาจจะต้องผิดพลาดไป 1-2 mm เสมอ
2. เริ่มพิมพ์ได้เลย
หลังจากที่เราออกแบบ และ วางเส้นตัดไดคัท เรียบร้อยเเล้ว เราก็จะสามารถพิมพ์ได้ทันที ซึ่งใช้เวลาเร็วมากๆ
ใน 1 นาที SGE Print สามาผลิตสติ๊กเกอร์ได้มากถึง 20 แผ่น เท่ากับ 1 ชั่วโมงเราสามารถพิมพ์ได้ถึง 600 แผ่น!!!!
โดยสติ๊กเกอร์ฉลาก จะอยู่บนกระดาษ ขนาด A3
3. ไดคัท
เมื่อพิมพ์งานฉลากสินค้า เสร็จ ก็จะดำเนินการต่อด้วยการ ตัดไดคัท ให้สติ๊กเกอร์ออกมาเป็นดวงๆ พร้อมใช้
ซึ่งขั้นตอนนี้จะทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้มีความเเม่นยำค่อนข้างดี และ ทำได้รวดเร็ว
โดยใน 1 วัน ทางร้าน SGE Print จะตัดไดคัทสติ๊กเกอร์ได้ประมาณ 500 แผ่น!
ซึ่งถือว่าไม่น้อยเกินไป สำหรับลูกค้า รายเล็ก และ SMEs ในสมัยนี้
4. พร้อมใช้
เมื่อไดคัทสติ๊กเกอร์แล้ว สินค้าฉลากของเรา ก็จะพร้อมนำไปใช้ ไปแปะสวยๆ สร้างแบรนด์บนสินค้าทันที
ข้อจำกัดของสติ๊กเกอร์ Digital Offset คืออะไร?
- คุ้มค่า ถ้าผลิตจำนวนน้อยๆ หมายถึง ถ้าเราทำฉลากสินค้า จำนวน 1-10000 ดวง การผลิตแบบ Digital Offset จะเป็นการผลิตที่คุ้มค่าอยู่ แต่หากคุณต้องการผลิตฉลากสินค้าจำนวนมาก ระดับ หลายหมื่น หลายแสน ดวง การผลิตแบบม้วนจะตอบโจทย์กว่า
- สี การพิมพ์ Digital Offset จะสีไม่ตรงเป๊ะ ทุกครั้ง หากต้องการสีตรงเป๊ะ ควรเลือกการพิมพ์แบบ Offset แบบโบราณ ซึ่งควบคุมค่าสีได้แม่นยำกว่า
- การใช้งาน สติ๊กเกอร์ Digital Offset เหมาะกับการใช้งานผลิตฉลากสินค้า ไม่เหมาะกับงานสติ๊กเกอร์ติดรถยนต์ หรือ ของที่ต้องใช้ภายนอกบ้าน เนื่องจากความทนทานของสติ๊กเกอร์ชนิดนี้ จะต่ำกว่า สติ๊กเกอร์ outdoor โดยเฉพาะอ่านบทความทรงคุณค่าอื่นๆได้ที่:
4 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนสั่งผลิต สติ๊กเกอร์ ฉลากสินค้า
4 โปรแกรม ออกแบบฉลากสินค้า ฟรี ! ทำเองได้ที่บ้าน ไม่ต้องจ้างใคร
Written by SGE Print team